บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด

ที่อยู่ 43 ถ. สาทรใต้ แขวง ยานนาวา เขต สาทร กรุงเทพมหานคร 10120

มือถือ: 094 864 9799
มือถือ: 084 360 4656


LINE ID: @greenproksp
E-mail: info.th@greenproksp.com

กิจการร่วมค้า

กิจการร่วมค้า

กิจการร่วมค้า (Joint Venture)

ในปัจจุบันในการให้ประมูลงาน เพื่อจ้างทำงานในโครงการใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานเอกชน ต้องการผู้รับจ้างที่มีประสบการณ์ ความรู้ ความชำนาญ เทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงเงินทุนที่มีความเหมาะสมกับลักษณะของงานในโครงการนั้นๆ ซึ่งมีผู้ประกอบการเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าไปประมูลงาน เพื่อทำงานดังกล่าวได้โดยลำพัง เนื่องจากยังขาดคุณสมบัติที่ผู้จ้างงานกำหนดไว้ในโครงการที่มีขนาดใหญ่ และหรือต้องการผู้มีประสบการณ์ ความรู้ ความชำนาญ โดยเฉพาะสำหรับโครงการนั้นๆ ผู้ประกอบการดังกล่าวจึงต้องหาผู้อื่นเข้าร่วมกิจการในการประมูลงานโครงการเพื่อให้บริษัทมีคุณสมบัติ เพื่อสามารถแข่งขันในการรับงานดังกล่าวได้ เพื่อไม่ให้เสียโอกาสทางธุรกิจ และเพื่อเป็นการสร้างประสบการณ์ในการรับงานและทำงานโครงการใหญ่ๆ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเจริญเติบโต เพิ่มอำนาจการแข่งขันทางธุรกิจ และแข็งแกร่งขึ้นไป และสามารถรับงานโครงการใหญ่ๆ ได้ในอนาคต หรือบางธุรกิจมีคุณสมบัติตามโครงการใหญ่ๆ อยู่แล้วแต่ต้องการกระจายความเสี่ยงในการรับจ้างทำงานในโครงการดังกล่าว

กิจการร่วมค้า หมายถึงกิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางการค้าหรือหากำไร ของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป โดยที่ฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นนิติบุคคล ได้แก่ การร่วมกันระหว่าง บริษัทกับบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือบริษัทกับบุคคลธรรมดา หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลโดยมีการร่วมลงทุน ไม่ว่าจะเป็น ทรัพย์สิน ที่ดิน แรงงาน เงินทุน เทคโนโลยี บุคลากร โดยมีวัตถุประสงค์ และเป้าหมายในการดำเนินงานที่ชัดเจน ในการร่วมกันในกิจการร่วมค้าดังกล่าวยังหมายถึงการร่วมกันรับผิดชอบในกรณีที่เกินความเสียหายในกิจการที่ร่วมกันทำ และเมื่อมีผลกำไรเกิดขึ้นก็จะได้รับผลกำไรดังกล่าวตามสัดส่วนที่ทั้งสองฝ่ายมาลงทุนร่วมกัน

กิจการร่วมค้าแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ

รูปแบบของกิจการร่วมค้าตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 46 ได้แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบคือ

  1. การดำเนินการที่ควบคุมร่วมกัน (Jointly controlled operations)
  2. สินทรัพย์ที่ควบคุมร่วมกัน (Jointly controller assets)
  3. กิจการที่ควบคุมร่วมกัน หรือกิจการร่วมค้า (Jointly controller entities)

กิจการร่วมค้าในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ

  1. กิจการร่วมค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน (Unincorporated Joint Venture) เป็นกิจการร่วมค้าที่ผู้ร่วมกิจการ ทำสัญญาร่วมกันเพื่อประกอบกิจการ ไม่มีการจดทะเบียนนิติบุคคล และไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล แต่จำเป็นต้องขอเลขบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี เนื่องจากประมวลรัษฎากรถือเป็นหน่วยของฐานภาษี โดยกิจการร่วมค้ามีรายได้เข้าหลักเกณฑ์ ภาษีมูลค่าเพิ่ม กิจการร่วมค้าก็จำเป็นต้องจดทะเบียนและจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งกิจการร่วมค้าประเภทนี้นั้นโดยส่วนใหญ่จะเป็นการรวมตัวกันของบริษัทที่มีขนาดใหญ่ เข้ามาร่วมกันเป็นกิจการร่วมค้าโดยมีจุดประสงค์เพื่อรับงานในโครงการที่มีขนาดใหญ่ มีเป้าหมายในการดำเนินงานที่แน่นอน หรือเป็นการรวมกันเพื่อร่วมประมูลงานโครงการเดียว เมื่อดำเนินงานตามโครงการเสร็จแล้วก็จะแยกออกจากกัน ซึ่งเรียกว่าเป็น Contractual Joint Venture เมื่อมีผู้ฟ้องเรียกค่าเสียหายผู้ร่วมกิจการกันเป็นกิจการ่วมค้า ต้องร่วมกันรับผิดชอบเต็มจำนวนที่เสียหาย
  2. กิจการร่วมค้าแบบที่จดทะเบียน (Incorporated Joint Venture) เป็นกิจการร่วมค้าที่ผู้ร่วมกิจการกระทำกันโดยเป็นการถาวร มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปบริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยนิติบุคคลดังกล่าวมีสิทธิและหน้าที่และความรับผิดชอบแยกออกมาต่างหากจากคู่สัญญา และเป็นหน่วยภาษีที่แยกออกมาต่างหากจากผู้ถือหุ้น และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีนิติบุคคล ในกรณีที่มีผู้ประกอบการต่างชาติเข้ามาร่วมเป็นกิจการร่วมค้า ส่วนที่เป็นผู้ถือหุ้นคนไทยต้องถือหุ้นเกินกว่า 50% และต้องมีสัญญาร่วมค้า (Joint Venture Agreement) โดยสัญญาจะมีรายละเอียดโครงสร้างของนิติบุคคลที่จัดขึ้น อำนาจการบริหารงาน ทางด้านการเงิน การแบ่งผลประโยชน์ สิทธิ และหน้าที่ และกำหนดการหมดอายุของสัญญา

ถ้าท่านสนใจในการจัดตั้งกิจการร่วมค้า กรีนโปร เคเอสพี มีทีมงานที่มีประสบการณ์ และความชำนาญในการจัดตั้งกิจการร่วมค้าให้แก่ท่าน เพื่อให้ท่านได้ดำเนินการเข้ากิจการร่วมค้าเป็นไปอย่างสะดวก ถูกต้อง และรวดเร็ว สนใจติดต่อเรา เบอร์โทร 02 210 0280 ถึง 2 หรือ แอดไลน์มาที่ @greenproksp

สนใจบริการรับจดทะเบียนกิจการร่วมค้า ปรึกษาเราได้ฟรี!

5/5 - (3 votes)