มือถือ: 094 864 9799



รับทำ BOI

รับทำ-BOI

รับทำ BOI บริการขอรับการส่งเสริมการลงทุน ทีมงานมืออาชีพ

รับทำ BOI ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้าน เราเป็นอันดับต้นๆ ของไทยในเรื่องบริการขอรับการส่งเสริมการลงทุน ทำงานอย่างมืออาชีพ พร้อมให้คำแนะนำ BOI สิทธิประโยชน์มากมาย

กรีนโปร เคเอสพี ให้บริการรับทำ BOI หรือ เรียกอีกอย่างว่า บริการขอรับการส่งเสริมการลงทุนแก่ผู้ประกอบการที่ต้องการขอรับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เรามีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการดำเนินการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI และบริการหลังได้รับการส่งเสริมจาก BOI อย่างครบวงจรเพื่อให้ผู้ประกอบการ ได้รับสิทธิประโยชน์ได้อย่างสูงสุดตามเงื่อนไขของ BOI ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาศักยภาพ และสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจให้สามารถเติบโตอย่างยั่งยืน

บทความที่น่าสนใจ BOI คืออะไร

ขอบเขตการให้บริการรับทำ BOI

  • ให้คำปรึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับประเภทธุรกิจ เงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง และสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ
  • จัดทำคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน (รับทำ BOI) และยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน (รับยื่น BOI)
  • ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ BOI จนกว่าจะได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน
  • บริการอื่น ๆ หลังจากที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนแล้ว เช่น
    – การขออนุญาตเปิดดำเนินการ
    – การแก้ไขโครงการ
    – การนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักร
    – การรายงานผลการดำเนินงานต่อ BOI
    – การขออนุญาตนำคนต่างด้าวซึ่งเป็นช่างฝีมือฯ เข้ามาปฏิบัติงานในกิจการที่ได้รับการส่งเสริม

บัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุนทั่วไป

บัญชีที่ส่งเสริมการลงทุน
แหล่งที่มา www.boi.co.th

สิทธิประโยชน์จากการขอรับการส่งเสริมการลงทุน BOI

สิทธิประโยชน์ด้านภาษี

สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษี

• ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 13 ปี (ขึ้นกับประเภทกิจการและเงื่อนไข)
• ลดหย่อนภาษีเงินได้ 50% อีก 5 ปี (เฉพาะเขตส่งเสริมการลงทุน)
• ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
• ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบผลิตเพื่อการส่งออก
• ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา
• อนุญาตต่างชาติถือหุ้น 100% (ยกเว้นกิจการตามบัญชีหนึ่งท้ายพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวหรือที่มีกฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ)
• อนุญาตให้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน
• อนุญาตให้ช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการเข้ามาทำงาน

สิทธิประโยชน์ด้านภาษี

สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษี

• ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 13 ปี (ขึ้นกับประเภทกิจการและเงื่อนไข)
• ลดหย่อนภาษีเงินได้ 50% อีก 5 ปี (เฉพาะเขตส่งเสริมการลงทุน)
• ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
• ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบผลิตเพื่อการส่งออก
• ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา
• อนุญาตต่างชาติถือหุ้น 100% (ยกเว้นกิจการตามบัญชีหนึ่งท้ายพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวหรือที่มีกฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ)
• อนุญาตให้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน
• อนุญาตให้ช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการเข้ามาทำงาน

บทความที่เกี่ยวข้อง ภาษีที่เกี่ยวข้องกับนิติบุคคล

หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ BOI

  1. ต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของรายได้ ยกเว้นกิจการเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตรกิจการอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน และกิจการตัดโลหะ ต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของรายได้
  2. ต้องมีกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย
  3. ต้องใช้เครื่องจักรใหม่ หากเป็นกรณีใช้เครื่องจักรใช้แล้วจากต่างประเทศ ซึ่งจะมีการแบ่งหลักเกณฑ์การพิจารณา
  4. โครงการที่มีเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ต้องดำเนินการให้ได้รับใบรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 หรือ ISO 14000 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่าภายใน 2 ปี นับแต่วันครบเปิดดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ จะถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี
  5. ต้องมีแนวทางและมาตรการในการป้องกันและลดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ สำหรับโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการจะพิจารณาเป็นพิเศษในเรื่องสถานที่ตั้งและวิธีจัดการมลพิษ
  6. ต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำของแต่ละโครงการไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) เว้นแต่กรณีที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะในบัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุนท้ายประกาศทั้งนี้ สำหรับกลุ่มธุรกิจบริการที่ใช้ฐานความรู้เป็นปัจจัยหลักในการดำเนินธุรกิจ ให้พิจารณาเงินลงทุนขั้นต่ำจากเงินเดือนบุคลากรต่อปี
    สำหรับผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำของแต่ละโครงการไม่น้อยกว่า 500,000 บาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
  7. ต้องมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียนไม่เกิน3ต่อ1สำหรับโครงการริเริ่ม ส่วนโครงการขยายจะพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นรายกรณี
  8. โครงการที่มีเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) มากกว่า 750 ล้านบาท ต้องเสนอรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการตามที่คณะกรรมการกำหนด

ถ้าบริษัทของคุณอยู่ในเกณฑ์ 8 ข้อนี้ สามารถติดต่อเราเพื่อขอใช้บริการรับทำ BOI ได้เลย แต่ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่ง สามารถติดต่อขอคำปรึกษาได้เลย

หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการกรณีผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

1. เพื่อเพิ่มศักยภาพและสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ให้สามารถเติบโตอย่างยั่งยืน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจึงได้ออกมาตรการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 2/2561 โดยผู้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1.1 เป็น SMEsไทย นิยามการเป็น SMEs ไทย ตามมาตรการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
– ต้องมีบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน
– เมื่อรวมกิจการทั้งหมดทั้งที่ได้รับการส่งเสริมและไม่ได้รับการส่งเสริมแล้ว ผู้ขอรับการส่งเสริม (ผู้ที่ขอใช้บริการรับทำ BOI) ต้องมีสินทรัพย์ถาวรสุทธิหรือเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนไม่เกิน 200 ล้านบาท
1.2 ต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำของแต่ละโครงการไม่น้อยกว่า 500,000 บาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
1.3 ต้องมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนไม่เกิน 3 ต่อ 1
1.4 อนุญาตให้นำเครื่องจักรใช้แล้วในประเทศมาใช้ในโครงการที่ขอรับการส่งเสริมได้มีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท โดยจะคำนวณราคาเครื่องจักรใช้แล้วในประเทศโดยใช้มูลค่าตามบัญชี และต้องลงทุนใหม่ในเครื่องจักรหลักเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าเครื่องจักรที่ใช้ในโครงการ
1.5 สำหรับคำขอรับการส่งเสริมที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2562
1.6 กิจการที่จะขอรับการส่งเสริมต้องเป็น ประเภทกิจการในกลุ่ม A และ B1 ของบัญชีท้ายประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 2/2557 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2557

2. สำหรับประเภทกิจการ 1.2 และ 7.23.1 ให้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขกิจการ ดังนี้

ประเภทกิจการ

เงื่อนไข

1.2 กิจการปรับปรุงพันธุ์พืชหรือสัตว์ (ที่ไม่เข้าข่ายกิจการเทคโนโลยีชีวภาพ)
1. รายได้จากการขยายพันธุ์พืช อันเกิดจากการปรับปรุงพันธุ์พืชในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมถือเป็นรายได้ที่ได้รับการส่งเสริม ทั้งนี้ไม่รวมถึงการขยายพันธุ์มันสำปะหลัง
2. หากตั้งอยู่ในเขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้รับการส่งเสริมหรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ให้ได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิร้อยละ 50 เป็นระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่กำหนดระยะเวลาการยกเว้นภาษี เงินได้นิติบุคคลสิ้นสุดลง

ประเภทกิจการ

เงื่อนไข

1.2 กิจการปรับปรุงพันธุ์พืชหรือสัตว์ (ที่ไม่เข้าข่ายกิจการเทคโนโลยีชีวภาพ)
1. รายได้จากการขยายพันธุ์พืช อันเกิดจากการปรับปรุงพันธุ์พืชในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมถือเป็นรายได้ที่ได้รับการส่งเสริม ทั้งนี้ไม่รวมถึงการขยายพันธุ์มันสำปะหลัง
2. หากตั้งอยู่ในเขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้รับการส่งเสริมหรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ให้ได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิร้อยละ 50 เป็นระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่กำหนดระยะเวลาการยกเว้นภาษี เงินได้นิติบุคคลสิ้นสุดลง

ประเภทกิจการ

เงื่อนไข

7.23.1 กิจการโรงแรม
1. ต้องมีจำนวนห้องพักไม่น้อยกว่า 20 ห้อง และต้องมีเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาทต่อห้อง
2. ต้องตั้งสถานประกอบการในเขตส่งเสริมการลงทุน เฉพาะพื้นที่ 20 จังหวัด

ประเภทกิจการ

เงื่อนไข

7.23.1 กิจการโรงแรม
1. ต้องมีจำนวนห้องพักไม่น้อยกว่า 20 ห้อง และต้องมีเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาทต่อห้อง
2. ต้องตั้งสถานประกอบการในเขตส่งเสริมการลงทุน เฉพาะพื้นที่ 20 จังหวัด
3. สิทธิประโยชน์
3.1 ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร
3.2 ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับประเภทกิจการในกลุ่ม A เป็นสัดส่วน ร้อยละ 200 ของเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
3.3 สิทธิและประโยชน์อื่นให้ได้รับตามหลักเกณฑ์ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 2/2557 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2557

ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการขอรับการส่งเสริมการลงทุน

  • บริการรับทำ BOI โดยการจัดทำและส่งแบบฟอร์มใบสมัครลงทุนของ BOI
  • ติดต่อเจ้าหน้าที่ BOI ภายใน 10 วันหลังจากที่ได้รับการยื่นคำร้องเพื่อนัดสัมภาษณ์และสัมภาษณ์
  • การประเมินโครงการโดย BOI
    – มูลค่าการลงทุนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 200 ล้านบาทที่ BOI จะพิจารณาภายใน 40 วันทำการหลังจากยื่นเอกสารครบถ้วน
    – มูลค่าการลงทุน 200-2,000 ล้านบาทโดยคณะอนุกรรมการพิจารณาภายใน 60 วันทำการหลังจากยื่นเอกสารครบถ้วน
    – ลงทุนมากกว่า 2,000 ล้านบาทโดยคณะอนุกรรมการและคณะกรรมการภายใน 90 วันทำการหลังจากยื่นเอกสารครบถ้วน
  • ส่งแบบฟอร์มตอบรับการส่งเสริมการขายภายใน1เดือนหลังจากได้รับแจ้งจาก BOI
  • ส่งแบบฟอร์มการจัดตั้ง บริษัท ภายใน 6 เดือนหลังจากได้รับการยอมรับได้รับใบรับรอง การส่งเสริมการลงทุนจาก BOI

บริการรับทำ BOI ของเรา

จากข้อมูลบริการรับทำ BOI ดังกล่าวข้างต้น สามารถเห็นได้ว่าสิทธิประโยชน์ที่ได้รับสามารถทำให้ผู้ประกอบการพัฒนาศักยภาพ และสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจให้สามารถเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs หากท่านผู้ประกอบการต้องการสมัครขอรับการส่งเสริมการลงทุน (BOI Certificate) Greenpro KSP Consulting มีทีมรับทำ BOI ที่มีประสบการณ์ และความรู้เพื่อช่วยในการขอรับใบรับรองจาก BOI และดำเนินการขั้นตอนหลังการขอรับการส่งเสริมอย่างครบวงจร

ติดต่อ: บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด
ที่อยู่ 43 อาคารไทยซีซีทาวเวอร์ ชั้น 11 ห้องเลขที่ 111 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทร: 094-864-9799
LINE ID: @greenproksp

เพิ่มเพื่อน


E-mail:
 info.th@greenproksp.com