
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
การยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวในนามบุคคลธรรม หรือนิติบุคคลก็ได้
คุณสมบัติในการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวกรณีบุคคลธรรมดา
- มีสัญชาติไทย และอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ในวันที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
- มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย
- ต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรืออยู่ในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์
- ต้องไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
- ต้องไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว หรือใบอนุญาตมัคคุเทศก์ และไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว หรือใบอนุญาตมัคคุเทศก์ แต่ถ้าเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตต้องถูกเพิกถอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวกรณีนิติบุคคล
- ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการด้านการท่องเที่ยว โดยถ้าเป็นห้างหุ้นส่วนผู้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดต้องมีสัญชาติไทย กรณีเป็นบริษัทจำกัด ทุนของบริษัทไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ต้องเป็นของบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย และกรรมการของบริษัทเกินกึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย
- มีสำนักงานอยู่ในราชอาณาจักรไทย
- กรรมการหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคลต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
3.1 มีสัญชาติไทย และอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ในวันที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
3.2 มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย
3.3 ต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรืออยู่ในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์
3.4 ต้องไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
3.5 ต้องไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว หรือใบอนุญาตมัคคุเทศก์ และไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว หรือใบอนุญาตมัคคุเทศก์ แต่ถ้าเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตต้องถูกเพิกถอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
ในการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องจัดให้มีการประกันภัยสำหรับอุบัติเหตุ ให้แก่นักท่องเที่ยวมัคคุเทศน์ และผู้นำเที่ยวในระหว่างเดินทางท่องเที่ยว โดยมีจำนวนเงินเอาประกันภัยกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะหรือทุพลลภาพไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านบาทต่อคน และกรณีบาดเจ็บไม่ต่ำกว่าห้าแสนบาทต่อคน และต้องมีอายุกรมธรรม์ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี นับแต่วันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
ประเภทการวางเงินประกันธุรกิจนำเที่ยว
โดยกฏกระทรวง ออก ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ได้มีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดจำนวนเงินหลักประกันการประกอบธุรกิจนำเที่ยวไว้ดังนี้
ผู้ประกอบการนำเที่ยว ต้องมีการจดทะเบียนและวางเงินประกันกับสำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ โดยแยกเป็น 4 ประเภทดังนี้
- ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่ ต้องวางเงินเพื่อเป็นหลักประกัน จำนวน 3,000 บาท โดยสามารถประกอบธุรกิจท่องเที่ยวได้เฉพาะในจังหวัดที่จดทะเบียนและจังหวัดข้างเคียงที่ระบุไว้ โดยสามารถให้บริการได้เฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทยเท่านั้น
- ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ (Domestic) ต้องวางเงินเพื่อเป็นหลักประกันจำนวน 15,000 บาท โดยสามารถประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทยได้ทุกจังหวัด โดยไม่ได้รับอนุญาตให้นำเที่ยวไปยังต่างประเทศ โดยสามารถให้บริการได้เฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทยเท่านั้น
- ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวต่างประเทศ (Inbound) ต้องวางเงินเพื่อเป็นหลักประกันจำนวน 30,000 บาท โดยสามารถประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทยได้ทุกจังหวัด โดยไม่ได้รับอนุญาตให้นำเที่ยวไปยังต่างประเทศ โดยสามารถให้บริการได้เฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติเท่านั้น
- ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวต่างประเทศ (Outbound) ต้องวางเงินเพื่อเป็นหลักประกันจำนวน 60,000 บาท โดยสามารถประกอบธุรกิจท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ โดยสามารถให้บริการได้ทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ
ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
- ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องแสดงใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบธุรกิจนำเที่ยวที่ระบุไว้ในใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
- ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวมีอายุ 2 ปี โดยผู้ประกอบการต้องชำระค่าธรรมเนียมในการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว 2,000 บาท ทั้งแบบบุคคลธรรมดาและแบบบริษัท ค่าธรรมเนียมรักษาสถานภาพใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว 1,000 บาท ทุกๆ 2 ปี
- ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่่ยวต้องยื่นเอกสารหลักฐานการเปลี่ยนแปลงต่อนายทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์กลาง ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงรายการประกอบธุรกิจนำเที่ยวต่างๆ เช่นเปลี่ยนชื่อบุคคลหรือนิติบุคคล เปลี่ยนแปลงที่ตั้่งสำนักงาน เปลี่ยนชื่อสถานประกอบการ เพิ่มหรือยกเลิกสำนักงานสาขา เปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานสาขา เปลี่ยนแปลงกรรมการหรือผู้มีอำนาจจัดการแทน
การเริ่มต้นประกอบธุรกิจนำเที่ยว
- จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หากท่านต้องการประกอบธุรกิจในรูปนิติบุคคลต้องเริ่มจากจดทะเบียนบริษัท หรือ บริษัทจำกัด หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยจะต้องระบุวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งบริษัทว่า ให้บริการการนำเที่ยว และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ไม่เช่นนั้น จะไม่สามารถนำธุรกิจไปจดทะเบียนขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจท่องเที่ยวได้
- จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันการประกอบธุรกิจมักมีการเปิดเว็บไซต์ หรือการทำสื่อบนอินเตอร์เน็ตต่าง ๆ เพื่อเป็นการโปรโมทโพสต์ธุรกิจของตน ดังนั้นหากผู้ประกอบการมีการจำหน่ายโปรแกรมท่องเที่ยวผ่านทางสื่ออินเตอร์เน็ต เช่น มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง จะต้องดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติม
- การทำกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุการเดินทางให้กับนักท่องเที่ยวและไกด์นำเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจทำประกันอุบัติเหตุในระหว่างนำเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวและไกด์นำเที่ยวของตน โดยสามารถติดต่อทำกรมธรรม์ดังกล่าวได้กับบริษัทรับทำประกันภัยได้โดยมีเงื่อนไขกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านบาทต่อคน และกรณีบาดเจ็บไม่ต่ำกว่าห้าแสนบาทต่อคน และต้องมีอายุกรมธรรม์ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี นับแต่วันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ
- การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว เมื่อดำเนินการจดทะเบียนบริษัทโดยระบุวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการให้บริการนำเที่ยวแล้ว จดทะเบียนพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (กรณีมีเว็บไซต์) และทำกรรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุการเดินทางให้กับนักท่องเที่ยวและไกด์นำเที่ยวเรียบร้อยแล้ว ผู้ประกอบการต้องยื่นขอใขอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวกับกรมการท่องเที่ยว
ถ้าท่านสนใจในการประกอบธุรกิจนำเที่ยว และต้องการขอใบอนุญาตนำเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ติดต่อเรา กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง เรามีผู้ชำนาญในการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ช่วยเหลือคุณในการขอใบอนุญาตให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฏหมาย
บริการอื่นที่น่าสนใจ ขอใบอนุญาตธุรกิจสินเชื่อ Pico Finance