มือถือ: 094 864 9799



การวางแผนภาษีทั้งระบบ

พี่เก่งจะมาเล่าเกี่ยวกับการวางแผนภาษีทั้งระบบให้ได้ทราบว่ามีหลักเกณฑ์ และวิธีการอย่างไร รวมถึงพี่เก่งได้ยกกรณีศึกษาเป็นตัวอย่าง

ผู้ประกอบการหลายคนคงมีลักษณะคล้ายๆกันคือในช่วงของการดำเนินธุรกิจในช่วงแรก จะให้ความสำคัญกับเรื่องการขาย และการผลิต ค่อนข้างมาก โดยที่ไม่ได้ให้น้ำหนักกับงานระบบหลังบ้าน ซึ่งได้แก่ งานบัญชี งานการเงิน ระบบสต๊อคสินค้าคงเหลือ หรือแม้กระทั่งงานภาษีต่างๆ และพอเมื่อธุรกิจเริ่มเติบโตมาระยะหนึ่ง ผู้ประกอบส่วนใหญ่จะหันมาสนใจเรื่องภาษี ซึ่งในทางที่ถูกต้องควรจะต้องมีการให้ความสำคัญกับเรื่องระบบหลังบ้านไปพร้อมๆกับงานหน้าบ้านด้วย

ดังนั้นไม่ว่าเราจะทำธุรกิจในรูปแบบของบุคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เราควรจะเริ่มมีการวางแผนภาษีตั้งแต่เนิ่นๆ พูดถึงเรื่องภาษีทุกคนคงจะเริ่มปวดหัว และไม่อยากศึกษาในเรื่องนี้ เพราะส่วนใหญ่เจ้าของกิจการจะฝากเรื่องนี้ไว้กับสำนักงานบัญชี หรือนักบัญชี ซึ่งที่ถูกต้องนั้นเจ้าของกิจการต้องให้น้ำหนักกับเรื่องนี้เป็นเรื่องต้นๆ และการวางแผนภาษีส่วนใหญ่ทุกคนจะนึกถึงภาษีของกรมสรรพากรอย่างเดียว แต่จริงๆ แล้วภาษียังมีอีกหลายตัวที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจของพวกเรา โดยจะขอสรุปตามตารางนี้

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาษีที่เกี่ยวข้องภาษีที่เกี่ยวข้องภาษีที่เกี่ยวข้องภาษีที่เกี่ยวข้องภาษีที่เกี่ยวข้อง
กรมสรรพากรภาษีบุคคลธรรมดาภาษีนิติบุคคล/ภาษีหัก ณ ที่จ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีธรุกิจเฉพาะอากรแสตมป์
กรมศุลกากรภาษีอากรขาเข้าภาษีอากรขาออก   
กรมสรรพสามิตภาษีสรรพสามิต    
กรมที่ดินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง    
สำนักงานเขต / อบต

โดยในวันนี้เราขอแชร์ประสบการณ์ของลูกค้ารายหนึ่งซึ่งได้มีการวางแผนภาษีทั้งระบบอยู่ในขณะนี้ ซึ่งลูกค้ารายนี้ทำธุรกิจโดยเป็นตัวแทนนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศและนำมาขายในประเทศไทยผ่านช่องทางการจำหน่ายทั้งหน้าร้าน ฝากขาย และออนไลน์ โดยการนำเข้าจะมีการนำเข้าจากหลายประเทศภายใต้สัญญาที่ทำกับบริษัทแม่ เนื่องจากโรงงานผลิตภายใต้แบรนด์นี้ ตั้งอยู่หลายประเทศ ทำให้เอกสารการนำเข้าจะมาจากต้นทางที่หลากหลาย ดังนั้นลูกค้ารายนี้จึงมีความกังวลเรื่องของการจัดทำเอกสารการนำเข้า การใช้พิกัดอัตราศุลกากร และรวมถึงสิทธิ์ประโยชน์ภาษีจากสัญญาต่างๆ ที่ทางประเทศไทยได้ร่วมลงนามไว้ เช่น FTA , WTO เป็นต้น

รวมทั้งทางทีมบัญชีมีความกังวลเกี่ยวกับภาษีของสรรพากรในประเด็นเอกสาร และสิทธิในการบันทึกค่าใช้จ่ายที่สรรพากรยอมรับและไม่ต้องบวกกลับทางภาษี ในเรื่องดังต่อไปนี้

  • ค่าสวัสดิการกรรมการและพนักงาน
  • ค่ารับรองของกรรมการและ พนักงานขาย
  • ค่าส่งเสริมการขาย ( ลด แลก แจก แถม)
  • การบริจาคสินค้าในหน่วยงานต่างๆ
  • และรวมถึงการเสียภาษีนิติบุคคลที่ต่ำกว่าปีที่ผ่านๆมา

ซึ่งในเคสลูกค้ารายนี้ ทางเราได้มีการวางแผนภาษีให้ลูกค้าแบบทั้งระบบ โดยในขั้นตอนการทำงานดังนี้

  1. สัมภาษณ์ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ได้แก่ เจ้าหน้าที่ด้านนำเข้า ส่งออก เจ้าหน้าที่จัดซื้อ เจ้าหน้าที่ที่ดูแลการตลาดและการจัดจำหน่าย เจ้าหน้าที่คลังสินค้า และเจ้าหน้าที่บัญชี
  2. ตรวจสอบเอกสารจริงที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า เช่น ใบขนขาเข้า , invoice , L/C , Form c/o
  3. อ่านเอกสารสัญญาแต่งตั้งตัวแทน , สัญญาค่าสิทธิ
  4. ตรวจสอบเอกสารค่าใช่จ่ายทางบัญชีและภาษีต่างๆ. เช่น invoice , เอกสารการชำระเงิน , การหัก ภาษี ณ.ที่จ่าย แบบ ภพ 30 , 36 , ภงด 50
  5. สรุปรายงานและนำเสนอผู้บริหาร ถึงแนวทางการปฏิบัติที่ต้องปรับปรุงแก้ไข และประโยชน์ที่จะได้รับทั้งเรื่องการประหยัดทางภาษีและลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการถูกตรวจสอบจากหน่วยงานรัฐต่างๆ ในอนาคต

ซึ่งจะเห็นว่าการวางแผนภาษีทั้งระบบเป็นงานที่ละเอียดและต้องอาศัยความรู้และ

ประสบการณ์ในการวางแผน เพื่อให้ลูกค้าได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์สูงสุดในการนำไปปรับปรุงการทำงาน การบริหารงาน รวมถึงการประหยัดเงินขององค์กรด้วย

บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด
43 อาคารไทยซีซีทาวเวอร์ ชั้น 11 ห้องเลขที่ 111 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

สนใจบริการ วางแผนภาษีทั้งระบติดต่อ

Mobile : 081-6487459
Tel : 02-563-6187-8 Fax : 02-563-6089
E-mail : surapa@greenproksp.com
LINE ID : @kengbunchee

Add Friend
Rate this post