มือถือ: 094 864 9799



ขอใบอนุญาตพิโกไฟแนนซ์หรือพิโกพลัส

1. หลักเกณฑ์และรายละเอียดเบื้องต้น

1. ในกรณีพิโกไฟแนนซ์ต้องมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท โดยสามารถปล่อยสินเชื่อให้แก่ประชาชนได้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อลูกหนี้ต่อราย และสามารถเรียกเก็บดอกเบี้ย กำไรจากการให้สินเชื่อ ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมอื่นใด รวมกันแล้วได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 36 ต่อปี (Effective Rate) หรือ ในกรณีพิโกพลัสต้องมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท โดยสามารถปล่อยสินเชื่อให้แก่ประชาชนได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อลูกหนี้แต่ราย โดย 50,000 บาทแรกสามารถเรียกเก็บดอกเบี้ย กำไรจากการให้สินเชื่อ ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมอื่นใด รวมกันแล้วได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 36 ต่อปี (Effective Rate) ส่วนที่เหลือ 50,000 บาทหลังสามารถเรียกเก็บดอกเบี้ย กำไรจากการให้สินเชื่อ ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมอื่นใด รวมกันแล้วได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 28 ต่อปี (Effective Rate)

2. ผู้ขออนุญาตต้องเป็นนิติบุคคล 3 ประเภท ดังนี้ 1.ห้างหุ้นส่วน  2.บริษัทจำกัด  3.บริษัทมหาชนจำกัด

3. นิติบุคคลที่ขออนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับนั้นชาวต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% ทั้งนี้ชาวต่างชาติสามารถเป็นกรรมการได้ แต่ต้องไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจเซ็น

4. เป็นสินเชื่อที่ผู้ให้บริการทางการเงิน ที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non – Bank)

5. ผู้ประกอบธุรกิจต้องเปิดดำเนินการภายใน 1 ปี หลังจากได้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ

6. ผู้ประกอบการสินเชื่อรายย่อยให้บริการได้เฉพาะในจังหวัดที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่

7. ผู้กู้ต้องเป็นบุคคลธรรมดา ที่มีถิ่นที่อยู่ในจังหวัด หรือ มีภูมิลำเนา เดียวกับผู้ให้กู้

8. เป็นสินเชื่อจะมีหลักประกันหรือไม่มีหลักประกันก็ได้

9. กรรมการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือผู้ถือหุ้นของผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้

1. เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย

2. เคยได้รับโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต

3. เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ หรือ ผู้มีอำนาจในการจัดการที่ผู้ประกอบธุรกิจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการดำเนินงานประการใดประการหนึ่ง

4. ฐานะการเงินหรือการดำเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนอย่างร้ายแรง

10. ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ ต้องแจ้งให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังทราบถึงการเปิดสำนักงานสาขาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนเปิดทำการสำนักงานสาขาดังกล่าว

11. ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ ที่ประสงค์จะย้ายสำนักงานสาขาหรือปิดสำนักงานสาขา ต้องแจ้งสำนักงานเศรษฐกิจการคลังล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวัน

12. ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ ต้องปิดประกาศ ณ สำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา เพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ ก่อนที่ผู้บริโภคจะตกลงใช้บริการสินเชื่อรายย่อยภายในวันเดียวที่ผู้ประกอบธุรกิจประกาศหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดดังกล่าว

2. เอกสารเบื้องต้นที่ใช้ในการขออนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อ

1. แบบคำขออนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ

2. สำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนนิติบุคคล มีอายุไม่เกิน 1 เดือน ก่อนวันยื่นขอหนังสืออนุญาต

3. สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ (กรณีบริษัท)

4. สำเนาทะเบียนผู้ถือหุ้น (กรณีบริษัท)

5. สำเนาข้อบังคับ (กรณีบริษัท)

6. แบบรับรองคุณสมบัติกรรมการ ผู้จัดการ และ/หรือผู้มีอำนาจในการจัดการทุกคน

7. ชื่อ ที่อยู่ปัจจุบัน เบอร์โทรศัพท์ ของผู้สอบบัญชี ประวัติการตรวจสอบบริษัท พร้อมสำเนาใบอนุญาตผู้สอบบัญชี

8. งบการเงินที่รับรองโดยผู้สอบบัญชีปีล่าสุด หรือหนังสือรับรองเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์มีจำนวนเงินไม่ต่ำกว่า 5 ล้าน โดยต้องมีอายุไม่เกิน 7 วันก่อนวันยื่นหนังสือขออนุญาต

9. สำเนารายงานการประชุมของคณะกรรมที่การมีมติเห็นชอบให้บริษัท/ห้างหุ้นส่วน ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ

10. แผนการดำเนินธุรกิจการให้สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ

11. ภาพถ่ายสำนักงานใหญ่ และสำนักงานสาขา (ถ้ามี) พร้อมแผนที่ตั้ง

12. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการ ผู้จัดการ และ/หรือผู้มีอำนาจในการจัดการ

13. หลักฐานการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของผู้ถือหุ้นและกรรมการทุกท่าน

3. ระยะเวลาการดำเนินการ โดยประมาณ 70-120 วัน ในสถานการณ์ปกติ

1. ทำแบบฟอร์ม และเตรียมเอกสารในการขอใบอนุญาตต่อสำนักงาน ใช้ระยะเวลาประมาณ 7 วันทำงานนับจากวันที่ได้รับข้อมูลและเอกสารจากลูกค้าครบถ้วนและถูกต้อง หลังจากนั้นส่งเอกสารและแบบฟอร์มให้ลูกค้าเซ็น

2. เมื่อได้รับเอกสารที่เซ็นคืนจากลูกค้าครบถ้วน ดำเนินการยื่นคำขอต่อสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ภายใน 2-3 วันทำงาน

3. ระยะเวลาในการพิจารณาอนุมัติ ตามกฎหมาย 60 วัน แต่ทั้งนี้อาจจะนานกว่าระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้

Rate this post