มือถือ: 094 864 9799



ภาษีที่เกี่ยวกับบัญชีบริษัท

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายนั้นจะมีเพียงการซื้อขายบางประเภทเท่านั้นที่จะต้องมีการหัก แต่ละประเภทจะมีอัตราภาษีที่แตกต่างกัน ได้แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

  1. เงินเดือน ค่าที่ปรึกษา และ ค่านายหน้า ใช้อัตราภาษีแบบก้าวหน้า แบบที่ใช้ในการยื่น คือ ภงด 1
  2. ค่าเช่า อัตราภาษี 5% แบบที่ใช้ในการยื่น คือ ภงด 3,53
  3. ค่าบริการ/ค่าจ้างทำของ อัตราภาษี 3% แบบที่ใช้ในการยื่น คือ ภงด 3,53
  4. ค่าโฆษณา อัตราภาษี 2% แบบที่ใช้ในการยื่น คือ ภงด 3,53
  5. ค่าประกันภัย และ ค่าขนส่ง อัตราภาษี 1% แบบที่ใช้ในการยื่น คือ ภงด 3,53

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

– เป็นภาษีที่จัดเก็บเพิ่มจากค่าสินค้าที่ทำการซื้อขาย หรือ ค่าบริการภายในประเทศ และการนำเข้าสินค้า โดยคิดอัตราภาษีอยู่ที่ 7% (คำนวณมาจาก ภาษีมูลเพิ่มบวกกับภาษีท้องถิ่น = 6.3%+0.7%)
– เกณฑ์รายได้ที่บริษัทจำเป็นต้องจด VAT หรือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ทั้งปีเกิน 1,800,000 บาท (เดือนละประมาณ 150,000 บาท)
– บริษัทที่จด VAT จำเป็นต้องออกใบกำกับภาษีขาย และต้องยื่นแบบ ภพ.30 (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน แต่ถ้ายื่นผ่านอินเตอร์เน็ตเพิ่มเวลายื่นได้อีก 8 วัน

เมื่อบริษัทจด VAT แล้ว

การซื้อขายสินค้าจะต้องมีเอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาษี คือ ภาษีซื้อและภาษีขาย ซึ่งเป็นรายละเอียดประกอบกับแบบ ภพ.30 โดยนำ ภาษีขาย – ภาษีซื้อ = จำนวนเงินที่ต้องจ่าย

ระยะเวลาในการยื่น ภพ.36

ภพ.36 เป็นภาษีซื้อที่ผู้ประกอบการในประเทศไทยนำส่ง VAT 7% ให้แทนสำหรับค่าบริการที่ผู้ใช้บริการอยู่ต่างประเทศ โดยภาษีซื้อนี้สามารถนำมาใช้เป็นภาษีซื้อได้ในเดือนถัดไป เช่น ค่าโฆษณา Facebook, ค่าโฆษณา Google Adwords เป็นต้น

รายละเอียดที่สำคัญในใบกำกับภาษี

  1. ต้องมีคำว่าใบกำกับภาษี
  2. ต้องมีชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ของผู้ซื้อและผู้ขาย
  3. ระบุเลขที่ใบกำกับภาษี
  4. ต้องระบุชื่อ ชนิด ประเภท และปริมาณของสินค้า
  5. ต้องมีค่าสินค้าก่อนบวกภาษีมูลค่าเพิ่ม, จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าสินค้าที่รวมภาษีแล้ว
  6. ต้องมี วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี

ภาษีซื้อที่ขอคืนไม่ได้กับภาษีซื้อไม่ขอคืน

  1. ข้อความในใบกำกับภาษีไม่ครบถ้วน หรือ ใส่ข้อมูลชื่อ ที่อยู่ผิด
  2. ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท
  3. ภาษีซื้อค่ารับรอง (ให้รวมเป็นค่ารับรอง)
  4. ภาษีซื้อรถยนต์ไม่เกิน 10 ที่นั่ง (ให้รวมเป็นค่าใช้จ่าย)
  5. ภาษีซื้อแบบใบกำกับภาษีอย่างย่อ
  6. ภาษีซื้อบริษัทที่ไม่ได้เข้าระบบ VAT

รายละเอียดเกี่ยวกับ การจัดทำบัญชีของบริษัท

Rate this post