มือถือ: 094 864 9799



BOI คือ

ไม่ใช่ทุกบริษัทที่จะสามารถได้รับพิจารณาในการได้รับการส่งเสริมการลงทุนกับ BOI โดยทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI ตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ในการยื่นคำขออนุญาตในแต่ละประเภทธุรกิจ

BOI คือ? เรามาอ่านบทความนี้เพื่อไขข้อสงสัยกัน😊

ความหมายว่า BOI คือ คำย่อมาจาก Board of Investment สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นหน่วยงานส่งเสริมการลงทุน ซึ่งหน่วยงานนี้จะมีการพิจารณาบริษัทที่ยื่นการขอรับการส่งเสริมการลงทุนกับ BOI

ดังนั้นไม่ใช่ทุกบริษัทที่จะสามารถได้รับพิจารณาในการได้รับการส่งเสริมการลงทุนกับ BOI โดยทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI ตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ในการยื่นคำขออนุญาตในแต่ละประเภทธุรกิจ

หากผู้ประกอบการอยากนำบริษัทเข้ารับการส่งเสริมการลงทุน BOI บอกได้เลยว่าไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ต้องจัดการเตรียมเอกสารด้วยความละเอียดรอบคอบ พร้อมกับตรวจสอบว่ากิจการของคุณตรงตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่บีโอไอกำหนดไว้หรือไม่? ถ้าทุกอย่างถูกต้องบริษัทของคุณก็มีโอกาสสูงมากที่จะได้รับการสนับสนุนจาก BOI

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจาก BOI ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่

  1. สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร
  2. สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร

สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร

  • ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร ตามมาตรา 28
  • ลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักรส่วนหนึ่ง ตามมาตรา 29
  • ช่วยลดหย่อนอากรขาเข้าวัตถุดิบไม่เกิน 90 เปอร์เซ็น ของจำนวนปกติเพื่อการผลิต ตามมาตรา 30 และยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับใช้ในการผลิตเพื่อส่งออกไปต่างประเทศ ตามมาตรา 36(1)
  • ยกเว้นภาษี และลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 31 และ มาตรา 35(1)
  • ยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินปันผล ตามมาตรา 34
  • หักลดค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และค่าขนส่งครึ่งนึง ตามมาตรา 35(2)
  • หักค่าใช้จ่ายในส่วนของก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก 25% นอกเหนือจากหักค่าเสื่อม ตามมาตรา 35(3)
  • ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ ตามมาตรา 36(2)

สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร

  • สามารถนำพนักงานต่างชาติ คู่สมรส หรือลูก เข้ามาในประเทศไทยได้ ตามมาตรา 25
  • อนุญาตให้คนต่างชาติทำงานในประเทศไทยได้ ตามมาตรา 26
  • สามารถถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อใช้ดำเนินกิจการที่ขอรับการส่งเสริม BOI ได้ ตามมาตรา 27
  • ชาวต่างชาติสามารถส่งเงินหรือโอนเงินไปยังต่างประเทศได้ ตามมาตรา 37

บทความที่เกี่ยวข้อง : นโยบายส่งเสริมการลงทุนระยะ 7 ปี (นโยบาย BOI 7 ปี)

กิจการที่ BOI ให้การส่งเสริม

BOI คือ แบ่งบัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมออกเป็น 8 หมวดใหญ่ ซึ่งหากธุรกิจของท่านอยู่ในหมวดที่ได้รับการส่งเสริม สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับยื่นเรื่องขอรับการส่งเสริมได้

  1. เกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร
    เช่น กิจการปลูกไม้เศรษฐกิจ, กิจการปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยเคมี, กิจการด้านการเกษตรกรรมต่างๆ
  2. แร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นพื้นฐาน
    เช่น กิจการเหมืองแร่, ตัดและผลิตโลหะ, กิจการผลิตแก้วและเซรามิคส์
  3. อุตสาหกรรมเบา
    ช่น กิจการสิ่งทอ, กิจการผลิตกระเป๋าหรือรองเท้า, กิจการผลิตของเล่น
  4. ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง
    เช่น กิจการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และเครื่องจักร
  5. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
    เช่น กิจการซอฟท์แวร์และการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
  6. เคมีภัณฑ์ พลาสติก และกระดาษ
    เช่น กิจการผลิตบรรจุภัณฑ์จากกระดาษ, กิจการผลิตยา, กิจการผลิตพอลิเมอร์
  7. การบริการและสาธารณูปโภค
    เช่น กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำจากขยะ หรือเชื้อเพลิงจากขยะ, กิจการนิคมและการพัฒนา, กิจการ Cloud service
  8. การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
    เช่น กิจการพัฒนาไบโอเทคโนโลยี,นาโนเทคโนโลยี, ดิจิทัลเทคโนโลยี
    ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของกิจการผู้เช่าโรงงาน เช่าโกดัง หรือมีสถานประกอบการเป็นของตัวเองก็สามารถยื่นคำขอเข้ารับการส่งเสริมจาก BOI ได้หากกิจการของเราตรงตามเงื่อนไขที่ทาง BOI กำหนด การขอรับการสนับสนุนจาก BOI จะช่วยให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ มากมาย

การขอรับการส่งเสริมการลงทุนถือว่าเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจของคุณให้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น เเละมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หากโครงการของคุณเป็นไปตามเกณฑ์การขอรับการส่งเสริมการลงทุน ก็จะสามารถเพิ่มโอกาสให้กับภาคธุรกิจได้ทั้งในและต่างประเทศ


สนใจบริการรับขอ BOI

ติดต่อ: บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด
43 ถ. สาทรใต้ แขวง ยานนาวา เขต สาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทร : 02 210 0281, 02 210 0282
มือถือ : 094 864 9799084 360 4656
LINE ID : @greenproksp
E-mail : info.th@greenproksp.com

Add Friend
5/5 - (1 vote)