มือถือ: 094 864 9799



บาร์โค้ด

บาร์โค้ด รับจดทะเบียนเป็นกระบวนการทางธุรกิจที่สำคัญเครื่องมือสำคัญในการติดตามและจัดการสินค้า โดยเฉพาะในธุรกิจการค้าส่งและการค้าปลีก

รับจดบาร์โค้ด

บาร์โค้ด คือ

BarCode คือ สัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมายที่อยู่บนตัวสินค้า หรือ ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วยเส้นมืดซึ่งมักจะเป็นสีดำ และเส้นสว่างซึ่งมักจะเป็นสีขาว มีลักษณะเป็นแท่งวางเรียงกันเป็นแนวดิ่ง ซึ่งเป็นรหัสแทนตัวเลข และตัวอักษร ใช้หลักการสะท้อนแสงเพื่ออ่านข้อมูล โดยถูกใช้เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลของสินค้าได้ง่ายขึ้น สะดวกและรวดเร็ว และน่าเชื่อถือ แทนการคีย์ข้อมูลโดยแป้นพิมพ์ ซึ่งมีความล่าช้ากว่า และอาจเกิดความผิดพลาดได้ วิธีการอ่านข้อมูลจะใช้เครื่องอ่าน Barcode Scanner ระบบนี้เป็นระบบมาตรฐานสากลที่นิยมใช้กันทั่วโลก

ทั้งนี้ในปัจจุบันระบบได้เข้ามามีบทบาทในทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นด้านการขายสินค้า การบริการ รวมถึงทางด้านอุตสาหกรรม เลขหมายประจำตัวสินค้าที่มีความแตกต่างกัน จะบ่งชี้ไปยังสินค้าที่มีความแตกต่างกัน อย่างเช่นโรงงานผลิตแก้วน้ำพลาสติก ความแตกต่างในเรื่อง สี ขนาด และจำนวนที่บรรจุสินค้า ก็จะมีเลขหมายประจำตัวสินค้าที่แตกต่างกัน

ประโยชน์ของ BarCode มาใช้ในธุรกิจ

  1. ช่วยให้ง่ายต่อระบบการควบคุมสินค้าคงคลังด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเชื่อมกับเครื่องสแกนเนอร์ ระบบจะช่วยตัดยอดสินค้าโดยอัตโนมัติ จึงทำให้ผู้ประกอบการทราบข้อมูลเกี่ยวกับการหมุนเวียนของสินค้าในคลัง ปริมาณสินค้าคงเหลือ สินค้ารายการใดมีการหมุนเวียนดีนั้นคือสินค้าจำหน่ายได้ดี หรือสินค้าไม่มีการหมุนเวียนนั้นคือการจำหน่ายที่ไม่ดี
  2. ช่วยลดขั้นตอน และประหยัดเวลาในการทำงาน การใช้ระบบจะทำให้ในการซื้อ-ขายสินค้า มีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น เช่นการรับชำระเงิน การออกใบเสร็จรับเงิน การตัดสต๊อคสินค้าคงคลัง
  3. ช่วยยกระดับมาตรฐานสินค้า ข้อมูลจากบาร์โค้ดทำให้ทราบถึงแหล่งผลิตของสินค้าประเทศว่ามาจากผู้ผลิตสินค้ารายใด จึงทำให้ผู้ผลิตสินค้าต้องพยายามผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ หรือปรับปรุงคุณภาพอย่างเสมอ เพื่อรักษาชื่อเสียงของธุรกิจในแง่คุณภาพของสินค้า รวมทั้งดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเรื่องสัญลักษณ์ รหัสแท่งสำหรับแสดงข้อมูลสินค้า
  4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร ข้อมูลจากบาร์โค้ด จะช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถตัดสินใจในการวางแผน และบริหารงานด้าน การจัดซื้อ การผลิต และการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. ช่วยสร้างเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ รหัสบาร์โค้ด เป็นเครื่องแสดงถึงสินค้าที่มีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือ เลขรหัสประจำตัวของแต่ละประเทศ นั้นทำให้ผู้ที่สนใจซื้อสินค้าสามารถทราบถึงแหล่งผลิตสินค้า และสามารถทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถติดต่อซื้อ-ขายสินค้ากันได้โดยตรง และสะดวกมากขึ้น

ประเภทของ BarCode แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  1. Internal Barcode ที่ทำขึ้นเพื่อใช้ภายในองค์กรซึ่ง จะไม่สามารถนำออกไปใช้ภายนอกองค์กรได้
  2. Standard Barcode ที่ใช้เป็นสากล เป็นที่รู้จัก ซึ่งที่เป็นที่นิยมและใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายทั่วโลกมีประมาณ 11 ระบบ โดยทั้งนี้ระบบที่ได้รับการยอมรับซึ่งมีการใช้นี้มากกว่า 90 ประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยก็ใช้ระบบนี้คือ ระบบ EAN (European Article Numbering)

Barcode EAN-13 เป็นระบบที่ประเทศไทยเลือกใช้ ซึ่งจะต้องทำการลงทะเบียนก่อน จึงจะสามารถไปใช้งานกับสินค้าได้ ทั้งนี้มีสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย (Thai Article Numbering Council) หรือ TANC เป็นองค์กรตัวแทน EAN ภายใต้การดูแลของสภาอุตสาหกรรมกรรมแห่งประเทศไทย โดยระบบ EAN ที่ประเทศไทยใช้จะเป็นเลขชุด 13 หลัก

บาร์โค้ด

ความหมายของเลขบาร์โค้ด ( BarCode )

  • ตัวเลขสามหลักแรก เลข 885 คือ รหัสของประเทศไทย
  • ตัวเลขสี่ถัดมา เลข 2222 คือ รหัสโรงงานที่ผลิต หรือ เลขประจำตัวของผู้ประกอบการที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้
  • ตัวเลขห้าตัวถัดมา เลข 99999 คือ รหัสสินค้า
  • ตัวเลขสุดท้าย เลข 6 คือ ตัวเลขหลักสุดท้ายเป็นตัวเลขตรวจสอบ เลข 12 หลักข้างหน้าว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าตัวสุดท้ายผิดดังกล่าวจะไม่สามารถอ่านค่าได้

เมื่อท่านผู้สนใจอ่านถึงตรงนี้แล้ว น่าจะทำให้ท่านทราบถึงความหมายและประโยชน์ของเลข โดยถ้าท่านสนใจในบริการรับขอเลขต่อสถาบันรหัสสากล ทางกรีนโปร เคเอสพี เรามีบริการรับขอเลข ในการดำเนินเรื่องยื่นขอรับเลขต่อสถาบันรหัสสากลให้แก่ท่าน ก่อนที่ท่านจะสมัครเป็นสมาชิกรหัสสากลเพื่อขอเลขทางเราขออธิบายให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ค่าสมาชิกแรกเข้าและค่าสมาชิกรายปีในการขอรับเลข ดังรายละเอียดดังนี้

หลักเกณฑ์ค่าสมาชิกแรกและค่าสมาชิกรายปีเข้าที่ต้องชำระให้กับสถาบันรหัสสากล

เกณฑ์พิจารณาค่าสมาชิกแรกเข้าและค่าสมาชิกรายปีในการขอเลขบาร์โค้ด

1 กรณีขอในนามบุคคลธรรมดา

    1.1 สถาบันฯ ไม่ได้มีข้อกำหนดว่าจะต้องจดทะเบียนพาณิชย์ก่อนจึงจะสามารถยื่นสมัครสมาชิกเพื่อขอรับเลขได้ แต่หากมีการจดทะเบียนพาณิชย์แล้วสามารถแนบสำเนาทะเบียนพาณิชย์เข้าไปพร้อมเอกสารอื่นๆ ได้ โดยหากมีสำเนาทะเบียนพาณิชย์ ผู้ยื่นคำขอเลขสามารถเลือกได้ว่าต้องการ สมัครสมาชิกในนามร้านค้า (ชื่อร้านที่ระบุในใบทะเบียนพาณิชย์) หรือ สมัครในนามชื่อบุคคลธรรมดา (ชื่อผู้ยื่นคำขอ) แต่หากไม่ได้แนบเอกสารสำเนาทะเบียนพาณิชย์ สถาบันฯ จะให้สมัครสมาชิกกับสถาบันฯ ในนามชื่อบุคคลธรรมดา (ชื่อผู้ยื่นคำขอ)

    1.2 ผู้สมัครสมาชิกสถาบันฯ เพื่อขอรับเลข สามารถเลือกได้ว่าต้องการสมัครสมาชิกประเภทค่าสมาชิกรายปี 1,500 บาท โดยไม่เสียค่าแรกเข้า โดยได้รับเลข 13 หลัก จำนวน 9 เลขหมาย หรือสมัครสมาชิกประเภทค่าสมาชิกรายปี 3,000 บาทต่อปี โดยไม่เสียค่าแรกเข้า โดยได้รับเลข 13 หลัก จำนวน 99 เลขหมาย

    1.3 กรณีต้องการสมัครสมาชิกประเภทจำนวน 9,999 เลขหมาย สามารถสมัครได้โดยเสียค่าแรกเข้า 7,000 บาทและเสียค่าสมาชิกรายปี 8,000 บาท

2 กรณีขอในนามนิติบุคคล

    2.1 กรณีนิติบุคคลจดทะเบียนมาแล้วไม่เกิน 1 ปี พิจารณาจากทุนจดทะเบียนนิติบุคคลว่าทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาทหรือไม่
    2.1.1 กรณีทุนจดทะเบียนนิติบุคคลเกิน 5 ล้านบาท นิติบุคคลต้องเสียค่าแรกเข้า 7,000 บาทและค่าสมาชิกรายปี 8,000 บาท นิติบุคคลจะได้รับเลข 13 หลัก จำนวน 9,999 เลขหมาย
    2.1.2 กรณีทุนจดทะเบียนนิติบุคคลไม่เกิน 5 ล้านบาท นิติบุคคลไม่เสียค่าแรกเข้า 7,000 บาท โดยเสียเฉพาะค่าสมาชิกรายปีเท่านั้น โดยค่าสมาชิกรายปีขึ้นอยู่กับจำนวนเลขหมายที่ผู้ยื่นคำขอเลือก โดยสามารถเลือกสมัครเพื่อขอเลขได้ดังต่อไปนี้
    –  กรณีเลข 13 หลัก 9 เลขหมาย ค่าสมาชิกรายปี 1,500 บาท หรือ
    – กรณีเลข 13 หลัก 99 เลขหมาย ค่าสมาชิกรายปี 3,000 บาท
    แต่หากต้องการ 9,999 เลขหมาย สามารถสมัครได้โดยชำระค่าแรกเข้า 7,000 บาทและชำระค่าสมาชิกรายปี 8,000 บาท

    2.2 กรณีนิติบุคคลจดทะเบียนมาแล้วเกิน 1 ปี พิจารณาจากรายได้รายรับที่ยังไม่หักค่าใช้จ่าย ในงบการเงินปีล่าสุด
    2.2.1 กรณีรายได้ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 5 ล้านบาท ผู้ยื่นคำขอสามารถเลือกได้ว่าต้องการสมัครเพื่อขอเลขไดัดังต่อไปนี้
    –  สมาชิกประเภทค่าสมาชิกรายปี 1,500 บาท โดยได้รับเลข 13 หลัก จำนวน 9 เลขหมาย หรือ
    –  สมาชิกประเภทค่าสมาชิกรายปี 3,000 บาท โดยได้รับเลข 13 หลัก จำนวน 99 เลขหมาย
    2.2.2 กรณีรายได้มากกว่า 5 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 50 ล้านบาท ผู้ยื่นคำขอจะต้องชำระค่าแรกเข้า 7,000 บาท และชำระสมาชิกรายปี 8,000 บาท
    โดยได้รับเลข 13 หลัก จำนวน 9,999 เลขหมาย
    2.2.3 กรณีรายได้มากกว่า 50 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท ผู้ยื่นคำขอจะต้องชำระค่าแรกเข้า 7,000 บาท และชำระสมาชิกรายปี 10,000 บาท
    โดยได้รับเลข 13 หลัก จำนวน 9,999 เลขหมาย
    2.2.4 กรณีรายได้มากกว่า 100 ล้านบาท ผู้ยื่นคำขอจะต้องชำระค่าแรกเข้า 7,000 บาท และชำระสมาชิกรายปี 12,000 บาท โดยได้รับเลข 13 หลัก จำนวน 9,999 เลขหมาย

เกณฑ์พิจารณาค่าสมาชิกสถาบันรหัสสากลปีแรก

กรณีผู้สมัครขอเลข สมัครสมาชิกปีแรก (ค่าสมาชิกรายปีในปีแรกเท่านั้นจะแปรผันตามเดือนที่ยื่นคำขอ) ดังนี้
– เลข 13 หลัก จะมีอายุถึง 31 ธันวาคมของปีที่สมัคร ในกรณีที่ยื่นสมัครในช่วง 6 เดือนแรก
– เลข 13 หลักจะมีอายุถึง 31 ธันวามคมของปีถัดไป ในกรณีที่ยื่นสมัครในช่วง 6 เดือนหลัง เนื่องจากได้มีการจ่ายสมาชิก ของปีถัดไปแล้วตอนสมัคร

การต่ออายุค่าสมาชิกสถาบันรหัสสากล

ก่อนถึงวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี ทางสถาบันรหัสสากลจะจัดส่งใบแจ้งหนี้ให้ชำระค่าสมาชิกรายปีไปที่ตั้งสำนักงานของสมาชิกรหัสสากลโดยสมาชิกสามารถนำใบแจ้งหนี้ดังกล่าวไปชำระค่าสมาชิกรายปีได้ที่ธนาคารทุกสาขา ตามรายละเอียดที่ระบุในใบแจ้งหนี้ดังกล่าว 

ถ้าท่านผู้ประกอบธุรกิจต้องการนำระบบบาร์โค้ดมาตรฐานสากล มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าธุรกิจท่านจะเป็นธุรกิจ ผลิตสินค้า การขายสินค้า หรือบริการ ติดต่อเรา กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง เบอร์โทร 02-2100281 ถึง 2 ทางเรามีบริการในการดำเนินการรับขอเลขต่อสถาบันรหัสสากล (รับจดทะเบียนบาร์โค้ด) เพื่อทำให้ธุรกิจของคุณง่ายขึ้นและก้าวสู่มาตรฐานสากล  ทางเรารับขอเลขต่อสถาบันรหัสสากลทั้งในรูปบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล


สนใจบริการรับจดทะเบียนบาร์โค้ด

ติดต่อ: บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด
43 ถ. สาทรใต้ แขวง ยานนาวา เขต สาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทร : 02 210 0281, 02 210 0282
มือถือ : 094 864 9799084 360 4656
LINE ID : @greenproksp
E-mail : info.th@greenproksp.com

Add Friend