มือถือ: 094 864 9799



ปิดบริษัท

ปิดบริษัท เป็นกระบวนการยุติกิจการของบริษัทเมื่อผู้ถือหุ้นทุกคนต่างเห็นพ้องต้องกัน มีรายละเอียดและขั้นตอนที่ซับซ้อนและต้องดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

รับปิดบริษัท

การจดทะเบียนเลิกกิจการนั้นมี 2 ขั้นตอน สำหรับคนที่ยังไม่เคยจดเลิกบริษัท หรือปิดกิจการจะรู้สึกถึงขั้นตอนที่ยุ่งยากพอสมควร และต้องมีผู้ตรวจสอบบัญชีเซ็นงบให้อีกด้วย มีนิยามคำหนึ่งที่ต้องพูดกัน คือ “เปิดง่าย ปิดยาก” ผู้ประกอบการหลายๆ ท่านจึงใช้บริการกับสำนักงานบัญชี หรือ ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญโดยตรง

ก่อนปิดบริษัทควรคำนึงถึง

  • การตกลงร่วมกันระหว่างผู้ถือหุ้น การปรึกษาหารือ เนื่องจากถ้ามีการดำเนินเลิกบริษัทโดยที่มีผู้ถือหุ้นที่ไม่เห็นด้วย อาจเกิดการฟ้องร้องได้ กฎหมายจึงกำหนดให้มีการเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อให้มีมติในการเลิกกิจการ
  • การจัดทำงบการเงินย้อนหลังให้ครบถ้วน ถ้าบริษัทมีงบการเงินย้อนหลังที่ยังไม่ได้นำส่ง กิจการต้องส่งงบการเงินย้อนหลังให้ครบถ้วนเพราะในขั้นตอนการเลิกกิจการ บริษัทต้องจัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการด้วยซึ่งต้องมีตัวเลขงบการเงินยกมาจากปีก่อนจึงจะสามารถจัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการได้
  • การยื่นแบบนำส่งภาษีต่างๆให้ครบถ้วน ก่อนการดำเนินการเลิกกิจการ หากบริษัทยังมีภาษีที่ยังยื่นแบบต่อกรมสรรพากรไม่ครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น บริษัทควรจัดการเคลียร์รายการทางภาษีดังกล่าวและนำส่งกรมสรรพากรให้ครบถ้วน เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินการเลิกกิจการได้และป้องกันไม่ให้กิจการมีปัญหากับกรมสรรพากรในภายหลัง
  • การจัดหานักบัญชีและผู้สอบบัญชีที่มีประสบการณ์ การเลิกบริษัทมีประเด็นทางบัญชีและภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมากทั้งก่อนการดำเนินการเลิกกิจการที่ต้องเคลียร์ประเด็นทางบัญชีและภาษี และการจัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ ผู้ประกอบการจึงควรพิจารณาเลือกนักบัญชีและผู้สอบบัญชีที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์
  • การพิจารณาหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการเลิกบริษัท หน่วยงานภาครัฐต้องเกี่ยวข้องโดยตรงคือกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ นอกจากนี้กิจการควรพิจารณาว่ามีหน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องอีกเพื่อจะได้ดำเนินการติดต่อให้ครบถ้วน โดยถ้ากิจการเป็นผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กิจการต้องดำเนินการจดทะเบียนเลิกกับกรมสรรพากรด้วยเพื่อให้ได้หนังสือขีดชื่อเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร นอกจากนี้ถ้ากิจการมีการขึ้นทะเบียนนายจ้างกับสำนักงานประกันสังคม กิจการก็ต้องดำเนินการแจ้งเลิกกับสำนักงานประกันสังคม

เหตุผลที่ต้องเลิกกิจการ

ผลจากฎหมาย

  • มีการกำหนดระยะเวลาในการเปิดและปิดบริษัท เมื่อถึงวันที่สิ้นสุดต้องปิดบริษัท
  • เปิดบริษัทเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่ง เมื่อกิจการนั้นทำสำเร็จลุล่วง จึงต้องปิดบริษัท
  • บริษัทเกิดสภาวะล้มละลาย

ความประสงค์ของผู้ถือหุ้น

ผู้ถือหุ้นได้ลงมติกันว่าให้ปิดบริษัท หรือ เลิกกิจการ โดยการประชุมผู้ถือหุ้นให้ปิดบริษัทนั้น จะต้องจัดประชุมใหญ่และมีมติไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของผู้เข้าประชุมทั้งหมด

มีคำสั่งจากศาลให้เลิกบริษัท

  • การประชุมตั้งบริษัทและยื่นรายงานประชุมผิดวิธีที่กฎหมายกำหนด
  • บริษัทไม่ทำธุรกิจและไม่ยื่นเรื่องภายใน 1 ปี นับจากวันที่จดทะเบียน
  • ขาดทุนตลอดทุกปีและไม่มีโอกาสที่จะฟื้นกำไร
  • ผู้ถือหุ้นเหลือไม่ถึง 3 ท่าน

ขั้นตอนการจดทะเบียน

จดทะเบียนเลิกบริษัท

  1. ออกหนังสือนัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เพื่อให้มีมติพิเศษในการเลิกบริษัท ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน ส่งทางไปรษณีย์ตอบรับหรือส่งมอบถึงตัวผู้ถือหุ้น และโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอย่างน้อย 1 ครั้ง 
  2. จัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นจะต้องมีมติพิเศษให้เลิกด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนหุ้นที่เข้าประชุม 
  3. ประกาศหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 ครั้ง และส่งหนังสือบอกกล่าวเจ้าหนี้ (ถ้ามี) ภายใน 14 วัน นับจากวันที่มีมติเลิกบริษัท
  4. แต่งตั้งผู้ชำระบัญชี เพื่อยื่นคำขอจดทะเบียนเลิกบริษัทต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 14 วันนับจากวันที่มีมติเลิกบริษัท

เคลียร์บัญชีสินทรัพย์และหนี้สิน

สำหรับการจดเลิกบริษัท เจ้าของธุรกิจจะต้องสำรวจสินทรัพย์ และหนี้สินที่เหลืออยู่ เพื่อเคลียร์รายการคงค้างทั้งหมด ก่อนที่จะทำงบเลิกกิจการ 
📝 การเคลียร์บัญชีเช่นนี้ จะทำให้รู้ว่ากิจการเหลือเงินสดจริงๆที่จะต้องจ่ายคืนผู้ถือหุ้นทุกคนเท่าใด และเมื่อจัดทำงบ จดทะเบียนชำระบัญชีก็จะได้แบ่งคืนง่าย ไม่ต้องมีเรื่องกังวลใจ

ส่งภาษีให้ครบถ้วน และแจ้งเลิกกิจการกับสรรพากร 

นอกจากจดเลิกกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว สิ่งที่ต้องทำนอกเหนือจากนั้นก็คือ การเช็กส่งภาษีต่างๆ ให้ครบถ้วน
⭐ หากธุรกิจได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ห้ามลืมแจ้งเลิกกิจการกับกรมสรรพากร

แจ้งเลิกบริษัทกับประกันสังคม

กรณีที่บริษัทขึ้นทะเบียนประกันสังคม สิ่งที่ต้องทำ 2 เรื่อง ตามกฎหมายมีดังนี้

  1. ทำหนังสือแจ้งพนักงานที่จะเลิกจ้างล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง และจ่ายค่าชดเชยตามอายุการทำงานในอัตราที่กฎหมายกำหนด  
  2. แจ้งเลิกกิจการโดยยื่นแบบ สปส.6-15 การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง  ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง 

ทำงบการเงิน ณ วันเลิกบริษัท และจดชำระบัญชี

แม้กิจการทำตามข้อ 1-4 เรียบร้อยแล้ว ก่อนที่ไปจะจดทะเบียนชำระบัญชีสำเร็จ ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก็ยังมีพิธีรีตองมากมาย ที่ต้องทำตามเช็คลิสดังนี้

  • ทำงบการเงินชุดสุดท้าย ณ วันเลิกบริษัท หรือวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิก โดยให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นว่าถูกต้อง 
  • นัดประชุมผู้ถือ เพื่ออนุมัติงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ โดยต้องลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่อย่างน้อย 7 วันก่อนประชุมและส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ
    หรือส่งมอบถึงตัวผู้ถือหุ้น
  • จัดประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อลงมติในการอนุมัติงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการและอนุมัติการชำระบัญชี
  • หลังจากจ่ายค่าใช้จ่ายในการชำระบัญชีแล้ว หากมีเงินคงเหลือให้คืนทุนแก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนที่ถือหุ้นหรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
  • ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติรายงานการชำระบัญชี
  • ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติอนุมัติรายงานการชำระบัญชี
  • ผู้ชำระบัญชีจัดการทำคำขอจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี และยื่นจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายใน 14 วันนับจากมีมติเสร็จการชำระบัญชี

ภาษีที่ต้องเช็ค

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม แจ้งเลิกกิจการที่สรรากร ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้จดทะเบียนเลิกต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้รับ “หนังสือขีดชื่อเลขประจำตัวผู้เสียภาษี” จากกรมสรรพากร
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 พร้อมงบการเงิน ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการภายใน 150 วัน นับจากวันที่จดทะเบียนเลิก
  • ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ยื่นแบบ ภ.ง.ด.3, 53 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากวันที่จดทะเบียนเลิกให้ครบถ้วน เช่น การหัก ณ ที่จ่าย ค่าทำบัญชี ค่าสอบบัญชี เป็นต้น
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ ยื่นแบบ ภธ.40 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากวันที่เลิกในกรณีที่มีบัญชีดอกเบี้ยค้างรับ หรือดอกเบี้ยในงบการเงิน

ข้อมูลและเอกสารที่ลูกค้าต้องเตรียม

  1. สำเนาหนังสือรับรองบริษัทอายุไม่เกิน 6 เดือน และสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) บอจ.2 , บอจ.3 , ข้อบังคับ (ถ้ามี)
  2. สำเนาบัตรประชาชนกรรมการทุกท่าน
  3. เบอร์โทรและอีเมลของกรรมการแต่ละท่าน
  4. สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งบริษัท
  5. บริษัทจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นในปีนี้ไปแล้วกี่ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินการ

  1. ทำแบบฟอร์มและยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหลังจากได้รับเอกสารลูกค้าเรียบร้อยภายใน 3-4 วันทำการ
  2. ระยะเวลาในการดำเนินการ 1 สัปดาห์ หลังจากลูกค้าส่งเอกสารที่เซ็นแล้วกลับมาให้ทางเรา

แจ้งเลิกประกอบกิจการกรณีมี VAT

  1. ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) – ฉบับจริง กรณีเอกสารหายแนบใบแจ้งความ
  2. ภ.พ.01 และ 01.1 – ฉบับจริง กรณีเอกสารหายแนบใบแจ้งความ
  3. ภ.พ.09 – ที่เคยยื่นก่อนหน้านี้ทั้งหมด (ถ้ามี)
  4. สำเนา ภ.ง.ด.50 ปีล่าสุด + ใบเสร็จ
  5. สำเนา ภ.พ.30 + ใบเสร็จ ( ย้อนหลัง ตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึงปัจจุบัน )
  6. งบการเงิน ปีล่าสุด

หมายเหตุ

  • กรณีที่ไม่ได้จด VAT เตรียมข้อมูลในหน้าแรกเท่านั้น
  • กรณีบริษัทมีการจด VAT ต้องเตรียมข้อมูลทั้งสองหน้า

เกี่ยวกับเรา💚

บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด เราคือผู้ให้บริการอย่างครบวงจร ได้แก่

  • จดทะเบียนธุรกิจทุกประเภท
  • จดทะเบียนบริษัท
  • จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
  • ให้บริการทางด้านบัญชี ทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี ปิดงบการเงิน
  • ตรวจสอบภายใน
  • วางแผนภาษี วางระบบบัญชี
  • ที่ปรึกษาบัญชีและภาษี
  • คอร์สเรียนบัญชีและภาษี
  • รับเป็นวิทยากรบรรยายบัญชีและภาษี
  • ขอใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจต่างๆ
  • ร่างเอกสารทางกฎหมาย
  • รวมถึงการขอวีซ่าและใบอนุญาตทำงานให้แก่ชาวต่างชาติ

และเรายังเป็นผู้เชี่ยวชาญให้บริการรับจดทะเบียนบริษัทในธุรกิจที่หลากหลาย เช่น
• ธุรกิจผลิต และจำหน่ายสินค้า
• ธุรกิจบริการ
• ธุรกิจซื้อมาขายไป
• ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
• ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม รีสอร์ท
• ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
• ธุรกิจการเงิน
• ธุรกิจขายสินค้าออนไลน์
• ธุรกิจสุขภาพและความงาม
• ธุรกิจการแพทย์
• ธุรกิจบริการขนส่ง
>>และธุรกิจอื่นๆ ที่หลากหลาย ทั้งองค์กรธุรกิจ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง (SMEs) หรือขนาดใหญ่ โดยมีทีมงานจดทะเบียนบริษัทที่มีประสบการณ์ ให้บริการในราคาที่เหมาะสม

ทีมงานของเราประกอบด้วย ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต นักบัญชี ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 28 ปี เจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญเฉพาะด้านในแต่ละบริการ ด้วยบริการที่ประทับใจ รวดเร็ว ตรงเวลา ในราคาที่สมเหตุสมผล จึงทำให้ลูกค้าผู้รับบริการเชื่อมั่นและไว้วางใจในบริการของเรา เรายินดีให้คำปรึกษาผู้ประกอบการ SMEs รวมถึงผู้เริ่มต้นธุรกิจ (Start-up) ทุกท่าน


สนใจบริการรับจดทะเบียนปิดบริษัท

ติดต่อ: บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด
43 ถ. สาทรใต้ แขวง ยานนาวา เขต สาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทร : 02 210 0281, 02 210 0282
มือถือ : 094 864 9799084 360 4656
LINE ID : @greenproksp
E-mail : info.th@greenproksp.com

Add Friend