มือถือ: 094 864 9799



จัดตั้งมูลนิธิ

ก่อนอธิบายรายละเอียดเรื่องการรับจัดตั้งมูลนิธิ ทางเราจะเล่าถึงที่มาที่ไปก่อน ปัจจุบันมีมูลนิธิในประเทศไทยเป็นจำนวนมากซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่อการกุศลสาธารณะที่แตกต่างกัน และในขณะเดียวกันก็มีผู้ที่สนใจเป็นจำนวนมาก ซึ่งยังไม่มีความเข้าใจในความหมายของมูลนิธิตามกฎหมาย อย่างแท้จริง รวมถึงข้อกำหนดของกฎหมาย เอกสาร และขั้นตอนการดำเนินการ จึงขอสรุปเพื่อให้ผู้สนใจมีความเข้าใจมากขึ้นดังนี้

รับจดทะเบียนมูลนิธิ

รับจดทะเบียนมูลนิธิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 110 ได้บัญญัติความหมายของมูลนิธิดังนี้ มูลนิธิได้แก่ ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์ เพื่อการกุศลสาธารณะ การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณะประโยชน์อย่างอื่นโดยมิได้มุ่งหาประโยชน์มาแบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้

โดยทั้งนี้การจัดการทรัพย์สินของมูลนิธิ ต้องมิใช่เป็นการหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลใด นอกจากเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นมาซึ่งสรุปได้ว่า ความหมายของมูลนิธิตามข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นนั้น ให้ความสำคัญอยู่ที่ทรัพย์สินคือ เป็นการนำเอาเงินสด และอสังหาริมทรัพย์มารวมกันเข้าเป็น
กองทุน เพื่อทำกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์ของการจัดตั้ง

  • ต้องมีกองทุนที่เป็นเงินสดไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ในกรณีที่มีทรัพย์สินอย่างอื่น ในจำนวนนั้นต้องมีเงินสดเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 250,000 บาท ซึ่งเมื่อรวมเงินสดและทรัพย์สินอย่างอื่นแล้วต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 500,000 บาท
  • ในกรณีที่มูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นมานั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อการสังคมสงเคราะห์ ส่งเสริมการศึกษา การกีฬา ศาสนา สาธารณภัย และเพื่อการบำบัดรักษา ค้นคว้า ป้องกันผู้ป่วยจากยาเสพติด เอดส์ หรือมูลนิธิที่ก่อตั้งโดยหน่วยงานของรัฐจะได้รับการผ่อนผันให้มีทรัพย์สินเป็น กองทุนไม่ต่ำกว่า 200,000 บาท

    ซึ่งในกรณีที่มีทรัพย์สินอย่างอื่นอยู่ด้วยจะต้องมีเงินสดไม่น้อยกว่า 100,000 บาทซึ่งเมื่อรวมเงินสดและทรัพย์สินอย่างอื่นแล้วต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 200,000 บาท

💚 กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง รับจดทะเบียนมูลนิธิด้วยทีมงานมืออาชีพ

การดำเนินการจัดตั้งมูลนิธิ

  1. ต้องมีคณะกรรมการที่เป็นบุคคลอย่างน้อย 3 คน เป็นผู้ดำเนินกิจการของมูลนิธิโดยจัดเตรียม รายชื่อ อายุ ที่อยู่ อาชีพ หมายเลขโทรศัพท์ ตำหน่งของกรรมการทุกคน พร้อมสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านกรรมการทุกท่าน
  2. ต้องมีการทำรายการทรัพย์สิน และรายละเอียดชื่อและที่อยู่เจ้าของทรัพย์สินที่จะจัดสรรในการจัดตั้งและรายการทรัพย์สินที่ยกให้มูลนิธิ โดยมีสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลเจ้าของทรัพย์สินประกอบ
  3. มีการจัดทำหนังสือคำมั่นสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินแก่มูลนิธิ (ถ้าเป็นเงินต้องมีหนังสือรับรองจากธนาคารว่าผู้ให้มีเงินฝากในบัญชีของธนาคารตามจำนวนที่จะให้กับมูลนิธิ โดยผู้รับคำมั่น และผู้ให้คำมั่นจะต้องไม่เป็นบุคคลคนเดียวกัน
  4. มีสำเนาพินัยกรรม ในกรณีที่การขอจดทะเบียนมูลนิธิหรือจัดสรรทรัพย์สินสำหรับมูลนิธิ เกิดขึ้นโดยผลของพินัยกรรม
  5. มีการจัดทำข้อบังคับของมูลนิธิ ซึ่งต้องประกอบไปด้วย ชื่อมูลนิธิ วัตถุประสงค์ของมูลนิธิ ที่ตั้งมูลนิธิ และสาขาของมูลนิธิ (ในกรณีถ้ามีสาขา) ทรัพย์สินของมูลนิธิเมื่อจัดตั้ง ข้อกำหนดเกี่ยวกับกรรมการ ได้แก่ จำนวนของกรรมการ กำหนดตำแหน่งกรรมการ (ยกตัวอย่าง เช่น ประธานกรรมการ
    รองประธานกรรมการ เหรัญญิก ประชาสัมพันธ์ และเลขานุการ เป็นต้น) การแต่งตั้งกรรมการ
    วาระในการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่งกรรมการ และการประชุมของคณะกรรมการมูลนิธิ
    ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน และบัญชีของมูลนิธิ
  6. แผนผังโดยสังเขปแสดงที่ตั้งสำนักงานใหญ่และที่ตั้งสำนักงานสาขา (ถ้ามี)
  7. มีการจัดทำรายงานการประชุมจัดตั้ง (โดยระบุ ชื่อมูลนิธิ วัตถุประสงค์ รายชื่อกรรมการ ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ)
  8. หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่เป็นที่ตั้งมูลนิธิ จากเจ้าของหรือผู้ครอบครอง พร้อมแนบเอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในการครอบครองของผู้อนุญาต
    ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน ใบอนุญาตก่อสร้าง โฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขายที่ระบุหมายเลขประจำบ้าน เป็นต้น
  9. มีการแต่งตั้งผู้ดำเนินการในการยื่นเรื่องการจัดตั้ง
  10. แบบคำรับรองของบุคคลผู้จะเป็นกรรมการมูลนิธิ

ขั้นตอนการรับจัดตั้งมูลนิธิ

  1. ดำเนินการยื่นแบบคำขอ พร้อมเอกสารประกอบตามที่ราชการกำหนด
    – ในกรณีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพมหานคร ยื่นที่สำนักงานเขต
    – ในกรณีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ต่างจังหวัดยื่นที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ
  2. เมื่อสำนักเขต หรืออำเภอ/กิ่งอำเภอ ได้รับคำขอการจัดตั้ง จะดำเนินการตรวจสอบดังต่อไปนี้
    2.1 ตรวจสอบคำขอและข้อบังคับว่าถูกต้องหรือไม่
    2.2 ตรวจสอบวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ โดยวัตถุประสงค์ต้องไม่ขัดกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่เป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชน หรือต่อความมั่นคงของรัฐ
    2.3 ตรวจสอบรายการในคำขอหรือข้อบังคับ ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ
    2.4 ตรวจสอบประวัติผู้จะเป็นกรรมการของมูลนิธิ ต้องมีฐานะและความประพฤติเหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ
  3. สำนักงานเขต หรืออำเภอ/กิ่งอำเภอ จะพิจารณาความถูกต้องและความครบถ้วนของเอกสารก่อน หลังจากนั้นจะเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อนายทะเบียน ซึ่งนายทะเบียนมูลนิธิในกรุงเทพมหานคร คือปลัดกระทรวงมหาดไทย และนายทะเบียนมูลนิธิในต่างจังหวัดคือผู้ว่าราชการจังหวัด
  4. เมื่อนายทะเบียนที่รับผิดชอบรับจดทะเบียนแล้ว จะออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนมูลนิธิ (ม.น.3) และส่งประกาศรับจดทะเบียนมูลนิธิ ไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วส่งเรื่องคืนไปยังสำนักงานเขต หรืออำเภอ/กิ่งอำเภอ และแจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบ
    เพื่อขอรับใบสำคัญฯ และชำระค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงฯ

ติดต่อบริการรับจดทะเบียนมูลนิธิ

ติดต่อ: บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด
43 ถ. สาทรใต้ แขวง ยานนาวา เขต สาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทร : 02 210 0281, 02 210 0282
มือถือ : 094 864 9799084 360 4656
LINE ID : @greenproksp
E-mail : info.th@greenproksp.com

Add Friend


บริการอื่นที่น่าสนใจ รับจดทะเบียนสมาคม, รับจดภาษีมูลค่าเพิ่ม