มือถือ: 094 864 9799



บริการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ

รับขอใบอนุญาต

ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ

การเริ่มต้นทำธุรกิจเป็นเรื่องที่มีขั้นตอนและเกี่ยวพันกับหลากหลายหน่วยงานด้วยกัน บางธุรกิจต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องก่อนจึงจะสามารถเริ่มต้นประกอบธุรกิจได้ โดยหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลและอนุญาตการประกอบธุรกิจนั้นจะแตกต่างกันไปตามประเภทของธุรกิจ ดังนั้นเพื่อให้การทำธุรกิจของคุณเป็นไปอย่างถูกต้องตามระเบียบและกฎหมาย ใบอนุญาตการประกอบธุรกิจจึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึง และขาดไม่ได้สำหรับการทำธุรกิจ

กรีนโปร เคเอสพี มีทีมงานที่มีประสบการณ์และความชำนาญ ในการให้บริการขอใบอนุญาต ประกอบธุรกิจ เพื่อให้ท่านผู้ประกอบการได้รับใบอนุญาตตามระเบียบและกฎหมายที่กำหนด ด้วยความสะดวกรวดเร็ว ในราคาที่สมเหตุผล เพื่อให้การเริ่มต้นธุรกิจของคุณเป็นไปอย่างราบรื่น

ขอบเขตการรับขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ

• จัดเตรียมเอกสารประกอบคำขออนุญาต
• ยื่นขอจดทะเบียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
• ชำระค่าธรรมเนียมและรับใบอนุญาตจัดส่งให้ลูกค้าผู้ประกอบการที่ยื่นขอใบอนุญาต

สนใจบริการ คลิก>>

ใบอนุญาตการประกอบธุรกิจต่างๆ

ใบอนุญาตเปิดกิจการร้านอาหาร ภัตตาคารไทย และสถานที่จำหน่ายอาหาร

รับขอใบอนุญาตร้านอาหาร

การประกอบธุรกิจร้านอาหาร จำหน่ายอาหาร นั้นจำเป็นต้องได้รับใบอนุญาตร้านอาหาร /ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร โดยแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้

1. ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร (กรณีพื้นที่เกิน 200 ตร.ม.) 
2. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร (กรณีพื้นที่ไม่เกิน 200 ตร.ม.) 

สถานที่ยื่นขอใบอนุญาต
– ในกรณีกรุงเทพมหานครต้องยื่นขอใบอนุญาตจากสำนักงานเขต
ในกรณีต่างจังหวัดต้องยื่นขออนุญาตจากเทศบาลที่ร้านอาหารตั้งอยู่

ตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 38 ซึ่งวางหลักเกณฑ์ไว้ว่า “ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใด ซึ่งมีพื้นที่เกิน 200 ตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาด ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนการจัดตั้ง ถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอรับหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง” 

อายุใบอนุญาตจัดตั้งร้านอาหารหรือสถานที่จำหน่ายอาหารมีอายุ 1 ปีนับตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่ออกใบอนุญาต

ค่าธรรมเนียมรัฐบาลใบอนุญาตร้านอาหารหรือสถานที่จำหน่ายอาหาร

1. กรณีพื้นที่เกิน 200 ตารางเมตร
   – ขนาดพื้นที่ไม่เกิน 300 ตารางเมตร ค่าธรรมเนียมรัฐบาล 2,800 บาท
   – ขนาดพื้นที่เกิน 300 ตารางเมตร เสียค่าธรรมเนียมรัฐบาลเพิ่ม 1 บาทต่อตารางเมตร โดยคิดตามพื้นที่เป็นจำนวนเต็ม สำหรับเศษให้ปัดทิ้ง โดยรวมแล้ว 
     ไม่เกิน 4,800 บาท
2. กรณีพื้นที่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร 
    – ขนาดพื้นที่ไม่เกิน 10 ตารางเมตร ค่าธรรมเนียมรัฐบาล 200 บาท
    – ขนาดพื้นที่เกิน 10 ตารางเมตร เสียค่าธรรมเนียมรัฐบาลเพิ่ม 10 บาทต่อตารางเมตร  โดยคิดตามพื้นที่เป็นจำนวนเต็ม สำหรับเศษให้ปัดทิ้ง โดยรวมแล้ว 
      ไม่เกิน 1,500 บาท

คลิกลิงก์ด้านล่างเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ใบอนุญาตร้านอาหารและใบอนุญาตสถานที่จำหน่ายอาหาร  (รับขอใบอนุญาตร้านอาหาร
รับขอใบอนุญาตจำหน่ายอาหาร)

https://www.greenprokspforsme.com/ใบอนุญาตร้านอาหาร/

ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้า เช่น สุรา ยาสูบ ไพ่

ใบอนุญาตขายเหล้า

ผู้ที่จะขายสุรา ยาสูบ (บุหรี่) และไพ่ ไม่ว่าจะขายส่งหรือขายปลีกในร้านค้าของตนเอง จะต้องยื่นขอใบอนุญาตขายสุรา ใบอนุญาตขายยาสูบ หรือใบอนุญาตขายไพ่ ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่ร้านค้าตั้งอยู่ เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วให้ติดใบอนุญาตไว้ในพื้นที่เปิดเผย ผู้ที่จำหน่าย สุรา ยาสูบ ไพ่ โดยไม่มีใบอนุญาต ไม่แสดงใบอนุญาตไว้ที่เปิดเผย หรือใช้ใบอนุญาตไม่ตรงกับสถานที่ระบุไว้ในใบอนุญาต จะมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ใบอนุญาตจำหน่าย สุรา ยาสูบ และไพ่ มีอายุใบอนุญาต 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาต โดยสามารถขอต่อใบอนุญาตก่อนใบอนุญาตหมดอายุได้ก่อนล่วงหน้า 90 วัน

ใบอนุญาตจำหน่ายสุรา
ใบอนุญาตจำหน่ายสุรามี 2 ประเภท โดยมีอัตราค่าธรรมเนียมรัฐบาลดังนี้
1. ประเภทที่ 1 ขายส่งสุราทุกชนิด ครั้งละ 10 ลิตรขึ้นไป ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตปีละ 5,500 บาท
2. ประเภทที่ 2 ขายปลีกสุราทุกชนิด ครั้งละไม่เกิน 10 ลิตร
–  กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 2,200 บาท
–  กรณีไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตปีละ 330 บาท 

ใบอนุญาตจำหน่ายยาสูบ
ใบอนุญาตจำหน่ายยาสูบมี 3 ประเภท โดยมีอัตราค่าธรรมเนียมรัฐบาลดังนี้
1. ประเภทที่ 1 ขายยาสูบ ครั้งละ 1,000 มวนขึ้นไป หรือขายยาเส้นครั้งละ 2 ก.ก. ขึ้นไป หรือยาเส้นปรุงหรือยาเคี้ยวครั้งละ 200 กรัมขึ้นไป
    – กรณีบุหรี่ ซิกาแรต และบุหรี่ซิการ์ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตปีละ 1,200 บาท
    – กรณียาเคี้ยว ยาเส้นปรุง ยาเส้น และบุหรี่อื่น แบ่งเป็น 2 ประเภท
      (ก) ถ้าเป็นผู้เพาะปลูกและผลิตเอง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตปีละ 100 บาท
      (ข) กรณียาเส้นอื่น นอกจาก (ก) ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตปีละ 500 บาท

2. ประเภทที่ 2 ขายปลีกยาสูบ ครั้งละไม่เกิน 1,000 มวน หรือขายยาเส้นครั้งละไม่เกิน 2 ก.ก. หรือยาเส้นปรุงหรือยาเคี้ยวครั้งละไม่เกิน 200 กรัม
    2.1 สำหรับการขายบุหรี่ ซิกาแรต และบุหรี่ซิการ์ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตแยกตามสถานที่ดังนี้
    – กรณีคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากร ตามกฎหมายศุลกากร ค่าใบอนุญาตปีละ 500 บาท
    – กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตปีละ 500 บาท
    – กรณีไม่ได้จดทะเบีนภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตปีละ 100 บาท

    2.2 สำหรับการขายยาเคี้ยว ยาเส้นปรุง ยาเส้นและบุหรี่อื่น ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตปีละ 100 บาท

3. ประเภทที่ 3 ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดอื่น ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตปีละ 1,200 บาท

ใบอนุญาตจำหน่ายไพ่
ใบอนุญาตจำหน่ายไพ่มี 2 ประเภท โดยมีอัตราค่าธรรมเนียมรัฐบาลดังนี้
1. ประเภทที่ 1 ขายไพ่ ครั้งละ 40 สำหรับขึ้นไป ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตปีละ 500 บาท
2. ประเภทที่ 2 ขายไพ่ ครั้งละไม่เกิน 40 สำหรับ 
    – กรณีคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากร ตามกฎหมายศุลกากร ค่าใบอนุญาตปีละ 500 บาท
    – กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตปีละ 500 บาท
    – กรณีไม่ได้จดทะเบีนภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตปีละ 100 บาท

คลิกลิงก์ด้านล่างเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใบอนุญาตจำหน่ายสุรา ยาสูบและไพ่ (รับขอใบอนุญาตจำหน่ายสุรา รับขอใบอนุญาตจำหน่ายเหล้า
รับขอใบอนุญาตจำหน่ายยาสูบ รับขอใบอนุญาตจำหน่ายบุหรี่ รับขอใบอนุญาตจำหน่ายไพ่)

https://www.greenprokspforsme.com/ขอใบอนุญาตสุรา/

ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

ใบอนุญาตนำเที่ยว

ธุรกิจนำเที่ยว คือ ธุรกิจเกี่ยวกับการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวหรือเดินทางไปเพื่อวัตถุประสงค์อื่น โดยจัดให้มีบริการหรือการอำนวยความสะดวกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง อันได้แก่ สถานที่พัก อาหาร มัคคุเทศก์

พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 ได้กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจำเป็นจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวจากกรมการท่องเที่ยวก่อนจึงจะสามารถประกอบกิจการได้ และในการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวจะต้องวางเงินหลักประกันการประกอบธุรกิจนำเที่ยวด้วย โดยธุรกิจนำเที่ยวแต่ละประเภทจะมีอัตราเงินหลักประกันแตกต่างกันไป ดังนี้
1. การประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภทเฉพาะพื้นที่ หลักประกัน 3,000 บาท
2. การประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภทนำเที่ยวภายในประเทศ หลักประกัน 15,000 บาท
3. การประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภทนำเที่ยวจากต่างประเทศ หลักประกัน 30,000 บาท
4. การประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภททั่วไป หลักประกัน 60,000 บาท

ในการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว เอกสารประกอบต้องมีสำเนากรมธรรม์ประกันภัย ที่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องมีการทำประกันภัยสำหรับอุบัติเหตุ ให้แก่นักท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ และผู้นำเที่ยวในระหว่างเดินทางท่องเที่ยว โดยมีจำนวนเงินเอาประกันภัยกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะหรือ

ทุพพลภาพไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านบาทต่อคน และกรณีบาดเจ็บไม่ต่ำกว่าห้าแสนบาทต่อคน และต้องมีอายุกรมธรรม์ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี นับแต่วันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว โดยใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวจะมีอายุ 2 ปี 

อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

– ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว 2,000 บาท ทั้งการขอในรูปแบบบุคคลธรรมดาและรูปแบบบริษัท
– ค่าธรรมเนียมรักษาสถานภาพใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว 1,000 บาท ทุกๆ 2 ปี

คลิกลิงก์ด้านล่างเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใบอนุญาตนำเที่ยว (รับขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว รับขอใบอนุญาตนำเที่ยว)
https://www.greenprokspforsme.com/ใบอนุญาตนำเที่ยว/

ใบอนุญาตเปิดสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (สปา)

ขอใบอนุญาตร้านสปา ร้านนวด

ใบอนุญาตร้านสปา ร้านนวด ตามพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 “สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ” หมายความว่า
สถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจการดังต่อไปนี้
1. กิจการสปา
2. กิจการนวดเพื่อสุขภาพ
3. กิจการนวดเพื่อเสริมความงาม
ผู้ประกอบกิจการเพื่อสุขภาพข้างต้นจะต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพจากกระทรวงสาธารณสุขก่อนเปิดกิจการทั้งนี้ผู้จัดการหรือผู้ดำเนินงานจะต้องขอใบอนุญาตเป็นผู้ดำเนินการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพด้วย

สถานที่ยื่นคำขอใบอนุญาตร้านนวด

– กรณีกรุงเทพมหานคร ยื่นขอใบอนุญาตที่ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
– กรณีต่างจังหวัด ยื่นขอใบอนุญาตที่ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด

อายุใบอนุญาต

ใบอนุญาตประกอบกิจการเพื่อสุขภาพประเภทร้านสปา และร้านนวดมีอายุใบอนุญาต  5 ปี

ค่าธรรมเนียมรัฐบาลใบอนุญาตประกอบกิจการเพื่อสุขภาพประเภทร้านสปา และร้านนวด ดังต่อไปนี้

1. ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการสปา

– กรณีพื้นที่การให้บริการไม่เกิน 100 ตารางเมตร ฉบับละ 1,000 บาท
– กรณีพื้นที่การให้บริการเกิน 100 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร ฉบับละ 3,000 บาท
– กรณีพื้นที่การให้บริการเกิน 200 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 400 ตารางเมตร ฉบับละ 6,000 บาท
– กรณีพื้นที่การให้บริการเกิน 400 ตารางเมตร ฉบับละ 10,000 บาท

2. ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการนวดเพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมความงาม

– กรณีพื้นที่การให้บริการไม่เกิน 100 ตารางเมตร ฉบับละ 500 บาท
– กรณีพื้นที่การให้บริการเกิน 100 ตารางเมตรแต่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร ฉบับละ 1,500 บาท
– กรณีพื้นที่การให้บริการเกิน 200 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 400 ตารางเมตร ฉบับละ 3,000 บาท
– กรณีพื้นที่การให้บริการเกิน 400 ตารางเมตร ฉบับละ 5,000 บาท

3. ค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพรายปีสําหรับสถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการสปา ปีละ 1,000 บาท

4. ค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพรายปีสําหรับสถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการนวดเพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมความงามปีละ 500 บาท
โดยผู้ประกอบการต้องชําระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพรายปีในปีแรก พร้อมกับการชําระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต โดยถือว่าวันที่ชําระค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นวันครบกําหนดชําระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการ และให้ชำระรายปีในปีต่อ ๆ ไปตลอดระยะเวลาที่ยังคงประกอบกิจการอยู่

คลิกลิงก์ด้านล่างเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบกิจการเพื่อสุขภาพ ประเภทร้านสปา ร้านนวด
(รับขอใบอนุญาตร้านสปา รับขอใบอนุญาตร้านนวด)

https://www.greenprokspforsme.com/ใบอนุญาตสปา/

ใบอนุญาตประกอบกิจการค้าของเก่า (ใบอนุญาตค้าของเก่า)

ขอใบอนุญาตค้าของเก่า

ใบอนุญาตค้าของเก่า
การค้าของเก่า มีความหมายคือทรัพย์ที่ทำการเสนอขาย แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์ที่ใช้แล้ว โดยรวมถึงของโบราณด้วย โดยขยายความดังต่อไปนี้
– ทรัพย์ คือวัตถุที่มีรูปร่างซึ่งเมื่อนำไปเสนอขาย แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายอย่างทรัพย์ที่ใช้แล้วถือว่าเป็นการค้าของเก่า ทั้งนี้รวมถึงของใหม่ที่ทิ้งไว้
นานๆ ด้วย
– โบราณวัตถุ คือทรัพย์ที่เป็นของโบราณ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือเป็นสิ่งประดิษฐ์รวมทั้ง สิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน
โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติด้วย

สถานที่ที่ยื่นขอใบอนุญาตค้าของเก่า
– กรณีสถานที่ตั้งกิจการค้าของเก่าอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ยื่นที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
– กรณีที่ตั้งกิจการค้าของเก่าอยู่ต่างจังหวัด ยื่นขอใบอนุญาตที่องค์การบริการส่วนตำบลที่สถานประกอบการตั้งอยู่

อายุใบอนุญาต
– ใบอนุญาตค้าของเก่ามีอายุ 1 ปี จะหมดอายุในวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี โดยต้องดำเนินการขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนใบอนุญาตค้าของเก่าเดิมจะหมดอายุ และสามารถยื่นต่ออายุได้ก่อนใบอนุญาตหมดอายุล่วงหน้า 90 วัน

ประเภทของใบอนุญาตค้าของเก่า
– ประเภทที่เป็นโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุ โดยความหมายของนิยามเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
– ประเภทที่เป็น เงิน ทอง นาก เพชรพลอย หรืออัญมณี
– ประเภทที่เป็น รถยนต์ ทั้งนี้ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
– ประเภทอื่นๆ ได้แก่ พระเครื่อง นาฬิกา โทรศัพท์เคลื่อนที่ กล้องถ่ายรูป เครื่องใช้สำนักงาน คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องดนตรี เครื่องเสียง ไม้เรือนเก่า เฟอร์นิเจอร์ เครื่องหนัง เครื่องจักรเก่า จักรเย็บผ้า รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์
ยางรถยนต์ กระทะล้อรถยนต์ แสตมป์ เหรียญ ธนบัตร ของหลุดจำนำ กระดาษ เศษเหล็ก แสตนเลส ถัง และพลาสติก เป็นต้น

อัตราค่าธรรมเนียมรัฐบาลใบอนุญาตค้าของเก่า แบ่งตามประเภทของเก่าดังนี้

1. ค้าของเก่าประเภทโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุ ค่าธรรมเนียมปีละ 12,500 บาท
2. ค้าของเก่าประเภทเพชร พลอย ทอง นาก เงิน หรือ อัญมณี ค่าธรรมเนียม ปีละ 10,000 บาท
3. ค้าของเก่าประเภทรถยนต์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ค่าธรรมเนียม ปีละ 7,500 บาท
4. ค้าของเก่าประเภทอื่นๆ ไม่อยู่ใน (1) (2) และ (3) ค่าธรรมเนียม ปีละ 5,000 บาท

คลิกลิงก์ด้านล่างเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใบอนุญาตประกอบกิจการค้าของเก่า (รับขอใบอนุญาตประกอบกิจการค้าของเก่า
รับขอใบอนุญาตค้าของเก่า)

https://www.greenprokspforsme.com/ใบอนุญาตค้าของเก่า/

ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง (จดทะเบียนตลาดแบบตรงกับสคบ.)

จดทะเบียน สคบ

ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง (จดทะเบียนตลาดแบบตรง กับ สคบ.)
การตลาดแบบตรงตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง หมายถึงการทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการสื่อสารข้อมูลเพื่อเสนอ ขายสินค้าหรือบริการโดยตรงต่อผู้บริโภคซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางและมุ่งหวังให้ผู้บริโภคแต่ละราย ตอบกลับเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงนั้น

จดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง
ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าออนไลน์ (E-commerce) ได้แก่การขายผ่านช่องทางเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก แอปพลิเคชัน หรือแพลตฟอร์มสื่อออนไลน์ และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่างๆ โดยในกรณีบุคคลธรรมดาที่มียอดขายเกินกว่าปีละ 1.8 ล้านบาท ต้องจดทะเบียนตลาดแบบตรงกับ สคบ. ส่วนในกรณีเป็นนิติบุคคลถึงแม้ยอดขายจะไม่เกิน 1.8 ล้านก็มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ค้าตลาดแบบตรงกับทาง สคบ. โดยทันที

ลักษณะการขายที่ถือว่าเป็นการตลาดแบบตรง
1. มีเว็บไซต์ขายสินค้า ซึ่งสินค้านั้นอาจจะเป็นสินค้าของเจ้าของเว็บไซต์เอง หรือขายสินค้าของบุคคลอื่นผ่านเว็บไซต์ของตนเอง
2. ขายผ่านสื่อโทรทัศน์ดาวเทียม และมีการให้สั่งซื้อสินค้าผ่านรายการ โดยโทรศัพท์เข้าไปสั่งซื้อ
3. ขายสินค้าออนไลน์ ทั้งที่ขายผ่านช่องทางเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก แอปพลิเคชันไลน์ หรือแอปพลิเคชันอื่นๆ

ลักษณะการขายสินค้าและบริการที่ไม่ถือว่าเป็นการตลาดแบบตรง
1. ผู้ที่ขายสินค้าและบริการในรูปแบบบุคคลธรรมดา มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไม่เกิน  1 ล้าน 8 แสนบาทต่อปี
2. ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
3. การขายสินค้าและบริการของวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนที่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
4. การขายสินค้าและบริการของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรที่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์

บทลงโทษ
ผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงที่ไม่ได้จดทะเบียนประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงกับทาง สคบ. จะมีโทษจำคุก 1 ปี และปรับ 100,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ และมีการปรับเพิ่มอีกวันละ 10,000 บาทจนกว่าจะเลิกฝ่าฝืน 

คลิกลิงก์ด้านล่างเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใบอนุญาตประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง (รับขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงกับ
สคบ.รับจดทะเบียนตลาดแบบตรงกับสคบ.)
https://www.greenprokspforsme.com/จดทะเบียนตลาดแบบตรง/

ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม

โรงแรม คือ สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจ เพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน ตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 แบ่งโรงแรมออกเป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
(1) โรงแรมประเภท 1 หมายความว่า โรงแรมที่ให้บริการเฉพาะห้องพัก
(2) โรงแรมประเภท 2 หมายความว่า โรงแรมที่ให้บริการห้องพักและห้องอาหาร หรือสถานที่สำหรับบริการอาหารหรือสถานที่สำหรับประกอบอาหาร
(3) โรงแรมประเภท 3 หมายความว่า โรงแรมที่ให้บริการห้องพัก ห้องอาหารหรือสถานที่สำหรับบริการอาหารหรือสถานที่สำหรับประกอบอาหาร และสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการหรือห้องประชุมสัมมนา
(4) โรงแรมประเภท 4 หมายความว่า โรงแรมที่ให้บริการห้องพัก ห้องอาหารหรือสถานที่สำหรับบริการอาหารหรือสถานที่สำหรับประกอบอาหาร สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ และห้องประชุมสัมมนาทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติโรงแรม มาตรา 15 ได้บัญญัติไว้ว่า“ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบธุรกิจโรงแรม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน” ดังนั้นผู้ที่จะประกอบธุรกิจโรงแรมจึงจำเป็นที่จะต้องขออนุญาตจากกระทรวงมหาดไทยก่อนประกอบกิจการ

ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล (คลินิก)

ผู้ประกอบการท่านใดสนใจเปิดคลินิก ท่านจะต้องยื่นขออนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลกับกระทรวงสาธารสุขก่อนประกอบกิจการ มิเช่นนั้นจะมีโทษตามกฎหมาย เนื่องจากพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 มาตรา 16 กำหนดไว้ว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการสถานพยาบาล เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต” และมาตรา 24 กำหนดไว้ว่า “ห้ามมิให้บุคคลใดดำเนินการสถานพยาบาล เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต”

ใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนเอกชนนอกระบบ

โรงเรียนเอกชนนอกระบบตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 หมายความว่า “โรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยมีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา และให้หมายความรวมถึงศูนย์ศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) และสถาบันศึกษาปอเนาะ” ทั้งนี้การขอจัดตั้งโรงเรียนนอกระบบ ต้องเป็นไปตามกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนนอกระบบ พ.ศ. 2555

ประเภทและลักษณะของโรงเรียนนอกระบบ แบ่งได้ดังนี้
1. ประเภทสอนศาสนา เป็นโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะการสอนศาสนา
2. ประเภทศิลปะและกีฬา เป็นโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาเกี่ยวกับดนตรี ศิลปะ และกีฬา
3. ประเภทวิชาชีพ เป็นโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพเพื่อให้นักเรียนนำไปประกอบอาชีพหรือเพิ่มเติมทักษะในการประกอบอาชีพ
4. ประเภทกวดวิชา เป็นโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เสริมความรู้บางรายวิชาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5. ประเภทสร้างเสริมทักษะชีวิตเป็นโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เสริมสร้างความคิด เชาวน์ปัญญา และทักษะอื่น
6. ประเภทศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) เป็นศูนย์การศึกษาที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ตามกฎหมายว่าด้วยศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)
7. ประเภทสถาบันศึกษาปอเนาะ เป็นสถาบันที่จัดตั้งขึ้นให้เป็นทางเลือกหนึ่งของชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะผู้ประกอบการท่านใจประสงค์ที่จะจัดตั้งโรงเรียนเอกชนนอกระบบ จะต้องยื่นขออนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการก่อน โดยกรณีที่จัดตั้งโรงเรียนเอกชนนอกระบบในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน หากจัดตั้งในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขอที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่โรงเรียนจะจัดตั้งขึ้น

ใบอนุญาตประกอบกิจการหอพัก

ตามพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2558 แบ่งหอพักออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ หอพักชาย และ หอพักหญิงนอกจากนี้ยังแบ่งลักษณะของหอพักออกเป็น 2 แบบด้วยกัน คือ
• หอพักสถานศึกษา
• หอพักเอกชน
ผู้ที่ประกอบกิจการหอพักสถานศึกษาและหอพักเอกชนจะต้องยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการหอพัก จากกระทรวงมหาดไทย โดยผู้ที่ประกอบกิจการหอพักเอกชนจะต้องมีใบอนุญาตผู้จัดการหอพักเอกชนอีกใบหนึ่งด้วย

ใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออก

ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจนำเข้า-ส่งออก จะต้องลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากรก่อนจึงจะสามารถนำเข้าหรือส่งออกสินค้าได้ และในกรณีที่สินค้าที่ต้องการนำเข้าหรือส่งออกนั้นเป็นสินค้าที่มีมาตรการนำเข้าหรือส่งออก ผู้ประกอบการจะต้องขออนุญาตกับกรมการค้าต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสินค้านั้นๆ ด้วย ยกตัวอย่าง เช่น หากต้องการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าเกษตร ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการขออนุญาตกับกรมวิชาการเกษตร เป็นต้น

ลงทะเบียน e-GP

ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทะเบียนผู้ค้าภาครัฐ e-GP

บริการรับจดทะเบียน อ.ย. อาหาร/ยา/เครื่องสำอาง/เครื่องมือแพทย์/วัตถุอันตราย

ผู้ประกอบการที่ผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย สินค้าดังต่อไปนี้
• อาหาร
• ยา
• เครื่องสำอาง
• เครื่องมือแพทย์
• วัตถุอันตราย
จะต้องดำเนินขออนุญาตและขึ้นทะเบียนสินค้าดังกล่าวกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก่อนที่จะผลิต นำเข้าหรือจัดจำหน่ายสินค้านั้นๆ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวสินค้า และเพื่อให้การประกอบธุรกิจนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

บริการอื่นที่น่าสนใจ รับขอใบอนุญาตค้าของเก่า

ติดต่อเรา กรีนโปร เคเอสพี เพื่อให้การขอใบอนุญาต ในการประกอบธุรกิจของคุณเป็นไปอย่างราบรื่น และถูกต้องตามกฎหมาย


สนใจบริการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ

ติดต่อ: บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด
43 ถ. สาทรใต้ แขวง ยานนาวา เขต สาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทร : 02 210 0281, 02 210 0282
มือถือ : 094 864 9799084 360 4656
LINE ID : @greenproksp
E-mail : info.th@greenproksp.com

Add Friend