มือถือ: 094 864 9799



ขอใบอนุญาตธุรกิจสินเชื่อ

บริการขอใบอนุญาตธุรกิจสินเชื่อ

ขอใบอนุญาตธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ (Pico Finance)

รายละเอียดการขอใบอนุญาตธุรกิจสินเชื่อ ขอใบอนุญาตพิโกไฟแนนซ์ พิโกพลัส ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท หลักเกณฑ์เบื้องต้น เอกสารที่ใช้ขอใบอนุญาต Pico Finance

ขอใบอนุญาตธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์

การขอใบอนุญาตธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (พิโกไฟแนนซ์) ปัจจุบันมีผู้ที่มีความต้องการสินเชื่อและแหล่งเงินทุนเป็นจำนวนมาก โดยที่มีประชาชนเป็นจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบประเภทสถาบันการเงินเช่นธนาคารได้ ประชาชนรายย่อยเป็นจำนวนมากที่ต้องการแหล่งเงินทุนจึงหันไปหาเงินกู้นอกระบบ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาหนี้นอกระบบตามมาเป็นจำนวนมาก ทางกระทรวงการคลังจึงได้จัดให้มีการอนุญาตให้มีการประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยประเภท สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) ขึ้น นอกจากจะเป็นโอกาสให้กับประชาชนรายย่อยที่ไม่สามารเข้าถึงแหล่งเงินกู้สถาบันการเงินได้แล้ว ยังเป็นโอกาสให้กับผู้ที่ต้องการประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยในการดำเนินธุรกิจสินเชื่อรายย่อยให้เข้าสู่ระบบโดยถูกต้องตามกฎหมาย

ใบอนุญาตสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

(1) สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ Pico Finance ต้องมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท โดยสามารถปล่อยสินเชื่อให้แก่ประชาชนได้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อลูกหนี้แต่ละราย และสามารถเรียกเก็บดอกเบี้ย กำไรจากการให้สินเชื่อ ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมอื่นใด รวมกันแล้วได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 36 ต่อปี (Effective Rate)
(2) สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ ประเภทพิโกพลัส Pico Finance Plus ต้องมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท โดยสามารถปล่อยสินเชื่อให้แก่ประชาชนได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อลูกหนี้แต่ละราย และสามารถเรียกเก็บดอกเบี้ย กำไรจากการให้สินเชื่อ ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมอื่นใด รวมกันได้ไม่เกินร้อยละ 36 ต่อปี (Effective Rate) สำหรับวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 50,000 บาทแรก และสำหรับวงเงินสินเชื่อที่เกินกว่า 50,000 บาท ให้เรียกเก็บได้ไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี (Effective Rate)

ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์การขอใบอนุญาต Pico Finance

  1. ผู้ขอใบอนุญาตต้องเป็นนิติบุคคล 3 ประเภท ดังนี้ 1. ห้างหุ้นส่วน 2. บริษัทจำกัด 3. บริษัทมหาชนจำกัด
  2. นิติบุคคลที่ขอใบอนุญาตธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับนั้นชาวต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% ทั้งนี้ชาวต่างชาติสามารถเป็นกรรมการได้ แต่ต้องไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจเซ็น
  3. เป็นสินเชื่อที่ผู้ให้บริการทางการเงิน ที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non – Bank)
  4. ผู้ประกอบธุรกิจต้องเปิดดำเนินการภายใน 1 ปี หลังจากได้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ
  5. ผู้ประกอบการสินเชื่อรายย่อยให้บริการได้เฉพาะในจังหวัดที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่
  6. ผู้กู้ต้องเป็นบุคคลธรรมดา ที่มีถิ่นที่อยู่ในจังหวัด หรือ มีภูมิลำเนา เดียวกับผู้ให้กู้
  7. เป็นสินเชื่อจะมีหลักประกันหรือไม่มีหลักประกันก็ได้
  8. กรรมการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือผู้ถือหุ้นของผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
    – เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
    – เคยได้รับโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต
    – เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ปฎิบัติตามเงื่อนไขในการดำเนินงานประการใดประการหนึ่ง
    – ฐานะการเงินหรือการดำเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนอย่างร้ายแรง
  9. ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ ต้องแจ้งให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังทราบถึงการเปิดสำนักงานสาขาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนเปิดทำการสำนักงานสาขาดังกล่าว
  10. ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ ที่ประสงค์จะย้ายสำนักงานสาขาหรือปิดสำนักงานสาขา ต้องแจ้งสำนักงานเศรษฐกิจการคลังล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
  11. ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ ต้องปิดประกาศ ณ สำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา เพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ ก่อนที่ผู้บริโภคจะตกลงใช้บริการสินเชื่อรายย่อยภายในวันเดียวที่ผู้ประกอบธุรกิจประกาศหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดดังกล่าว

ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์การขอใบอนุญาตพิโกไฟแนนซ์

  1. แบบคำขออนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ
  2. สำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนนิติบุคคล มีอายุไม่เกิน 1 เดือน ก่อนวันยื่นขอหนังสืออนุญาต
  3. สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ (กรณีบริษัท)
  4. สำเนาทะเบียนผู้ถือหุ้น (กรณีบริษัท)
  5. สำเนาข้อบังคับ (กรณีบริษัท)
  6. สำเนารายละเอียดวัตถุประสงค์แสดงวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วน (กรณีห้างหุ้นส่วน)
  7. คำรับรองการจดทะเบียน (กรณีห้างหุ้นส่วน)
  8. รายการจดทะเบียน (หส.2) (กรณีห้างหุ้นส่วน)
  9. สำเนาแบบแสดงรายการเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของห้างหุ้นส่วนบริษัท ตามประกาศกระทรวงพานิชย์ ฉบับที่ 83 (2515) พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 ยื่นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท (กรณีห้างหุ้นส่วน)
  10. แบบรับรองคุณสมบัติกรรมการ ผู้จัดการ และ/หรือผู้มีอำนาจในการจัดการทุกคน
  11. ชื่อ ที่อยู่ปัจจุบัน เบอร์โทรศัพท์ ของผู้สอบบัญชี ประวัติการตรวจสอบบริษัท พร้อมสำเนาใบอนุญาตผู้สอบบัญชี
  12. งบการเงินที่รับรองโดยผู้สอบบัญชีปีล่าสุด หรือหนังสือรับรองเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์มีจำนวนเงินไม่ต่ำกว่า 5 ล้าน หรือ 10 ล้านบาท แล้วแต่ประเภทสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ โดยต้องมีอายุไม่เกิน 7 วันก่อนวันยื่นหนังสือขออนุญาต
  13. สำเนารายงานการประชุมของคณะกรรมที่มีมติเห็นชอบให้บริษัท/ห้างหุ้นส่วน ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ
  14. แผนการดำเนินธุรกิจการให้สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ
  15. ภาพถ่ายสำนักงานใหญ่ และสำนักงานสาขา (ถ้ามี) พร้อมแผนที่ตั้ง
  16. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการ ผู้จัดการ และ/หรือผู้มีอำนาจในการจัดการ

ติดต่อเรา

ถ้าท่านสนใจประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ (Pico Finance) กรีนโปร เคเอสพี มีทีมงานที่มีประสบการณ์ในการยื่นคำขออนุญาตประกอบธุรกิจให้แก่ท่าน ทั้งนี้รวมถึงให้บริการขั้นตอนในการจัดตั้งบริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วน ตั้งแต่ขั้นตอนแรก เพื่อขอใบอนุญาตธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ในนามนิติบุคคล สนใจติดต่อเรา

สนใจบริการขอใบอนุญาตธุรกิจสินเชื่อ

ติดต่อ: บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด
ที่อยู่ 43 อาคารไทยซีซีทาวเวอร์ ชั้น 11 ห้องเลขที่ 111 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทร: 094-864-9799
LINE ID: @greenproksp

เพิ่มเพื่อน


E-mail:
greenproksp.th@gmail.com