มือถือ: 094 864 9799



รับขอ FBL

รับขอ FBL ใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ตามกำหนดของพระราชบัญญัติ ยินดีให้คำปรึกษาและแนะนำเรื่องการขอใบอนุญาตอย่างละเอียดทุกขั้นตอน

รับขอ FBL ใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ตามกำหนดของพระราชบัญญัติ ยินดีให้คำปรึกษาและแนะนำเรื่องการขอใบอนุญาตอย่างละเอียดทุกขั้นตอน

รับขอ FBL

การขอสิทธิให้ชาวต่างชาติเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท หรือถือหุ้น 100% นั้น จะต้องยื่นขออนุญาตตามพระราชบัญญัติการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 

เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย มีการตั้งขึ้นเพื่อสงวนสิทธิ์ในการประกอบธุรกิจบางประเภทให้สำหรับคนไทยเท่านั้น เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของคนไทย โดยรัฐบาลไทยได้ออกพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวปี พ.ศ. 2542 ซึ่งจะจำกัดประเภทกิจกรรมธุรกิจที่บริษัทต่างชาติสามารถประกอบได้

คนต่างด้าว หมายถึง

1. บุคคลธรรมดาที่ไม่ถือสัญชาติไทย

  • บุคคลธรรมดาทุกเพศ ทุกวัย หรือเป็นผู้บกพร่องในความสามารถหรือเป็นคนวิกลจริตอย่างใดก็ตามถือเป็นบุคคลธรรมดาทั้งสิ้น แต่ไม่ได้ถือสัญชาติไทย

2. นิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย

  • กลุ่มบุคคล หรือองค์กร เป็นต้น ที่ร่วมกันดำเนินกิจการ แล้วก่อตั้งเป็นนิติบุคคลตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด แต่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย

3. นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย แต่มีลักษณะดังต่อไปนี้

  • ลงทุนครึ่งหนึ่งหรือมากกว่านั้น ถือโดยผู้ถือหุ้นตามบุคคลธรรมดาที่ไม่ถือสัญชาติไทย หรือนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย
  • บุคคลธรรมดาที่ไม่ถือสัญชาติไทย ให้ความร่วมมือในฐานะหุ้นส่วนหรือเป็นผู้จัดการถือหุ้น

4. นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย

  • โดยมีทุนครึ่งหนึ่งหรือเป็นส่วนใหญ่ของการลงทุนโดยถือหุ้นโดยบุคคลธรรมดาที่ไม่ถือสัญชาติไทย นิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย หรือ นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยในกรณีที่ 3

รูปแบบธุรกิจที่ต้องยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

บริษัทที่จัดตั้งใหม่ โดยมีผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ

สำนักงานตัวแทน Representative Office

สาขาของบริษัทต่างชาติ Branch Office

บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน Board of Investment

สำหรับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โดยมีผู้ถือหุ้นชาวต่างชาตินั้นมี 2 รูปแบบ

  1. ถือหุ้นโดยต่างชาติไม่เกิน 49% หมายถึง ผู้ถือหุ้นเป็นคนสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่สัญชาติไทยจำนวนหุ้นไม่เกิน 49% บริษัทที่จัดตั้งจะถือเป็นบริษัทสัญชาติไทย สามารถประกอบกิจการได้ทุกอย่างตามกฎหมายกำหนด
  2. ถือหุ้นโดยต่างชาติตั้งแต่ 50% ขึ้นไป หมายถึง ผู้ถือหุ้นเป็นคนสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่สัญชาติไทย สัดส่วนจำนวนหุ้นตั้งแต่ 50% ขั้นไป ในกรณีนี้จะถือว่าเป็นนิติบุคคลต่างด้าว ต้องขอใบประกอบธุรกิจต่างด้าวและด้วยความที่ถูกจัดเป็นบริษัทต่างด้าวแล้ว

มีข้อจำกัดในการประกอบธุรกิจตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ดังต่อไปนี้

ธุรกิจที่ต่างด้าวห้ามทำ และ ต้องขออนุญาต

ต่างชาติถือหุ้น 100% ได้ไหม?

ต่างชาติสามารถถือหุ้นในบริษัทที่จดจัดตั้งในไทย 100% ได้อย่างถูกกฎหมาย 

แต่มีบางธุรกิจที่สามารถให้ชาวต่างชาติถือหุ้นได้ 100% อย่างเช่น โรงงานผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออก โดยต่างชาติต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท

ส่วนธุรกิจที่ไม่ใช่โรงงานผลิต แต่ได้สิทธิจากการส่งเสริมการลงทุน BOI หรือว่ามาด้วยใบอนุญาตต่างๆ ชาวต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ 100% โดยจะต้องแจ้งต่ออธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างชาติ ใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน หรือขอ Foreign Business License (FBL) ผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากองต่างด้าว

การจัดตั้งบริษัทก่อนขอจดทะเบียนขออนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

การยื่นขออนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว สามารถยื่นขอได้ทั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล หากเลือกยื่นขอในรูปแบบบริษัท ระหว่างที่เตรียมเอกสารต่างๆ ผู้ประกอบการต้องทำการจัดตั้งบริษัท โดยสามารถดำเนินการจองชื่อบริษัทก่อนได้ จากนั้นมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.ตรวจสอบและจองชื่อบริษัท ซึ่งการจองชื่อนิติบุคคลจะเป็นผู้ถือหุ้น หุ้นส่วนผู้จัดการในกรณีห้างหุ้นส่วน หรือกรรมการในกรณีบริษัทเป็นผู้ยื่นขอจองชื่อก็ได้ แต่บุคคลนั้นต้องเป็นผู้ลงนามในใบอนุมัติจองชื่อ

และชื่อที่จะจัดตั้งต้องไม่ซ้ำ หรือใกล้เคียงกับบริษัทที่เคยจดทะเบียนไปแล้ว โดยสามารถจองได้ 3 ชื่อ ผ่านการจองได้ 2 ทางคือ จองผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตหรือสำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือจองผ่านอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

หลังจากจองชื่อได้แล้ว จะต้องยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ภายใน 30 วัน หากยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิช้ากว่านั้นต้องทำการจองชื่อใหม่ ซึ่งสามารถใช้ชื่อเดิมในการจองได้ ถ้าหากยังไม่มีบริษัทอื่นๆ นำไปใช้ก่อน

2.ผู้ก่อการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป จัดทำคำขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ และเอกสารประกอบเพื่อนำไปจดทะเบียน

3.เมื่อได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้ก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัทที่คิดจะจัดตั้งขึ้นนั้นจองซื้อหุ้นจนครบ

4.ดำเนินการประชุมจัดตั้งบริษัท ส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมให้ผู้จองหุ้นทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม

5.เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัทและแต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป

6.กรรมการบริษัทจัดการเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองหุ้น ชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น

7.เมื่อได้รับเงินค่าหุ้นแล้ว กรรมการต้องทำคำขอจดทะเบียนตั้งบริษัท และนำเอกสารประกอบไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือน หลังจากการประชุมตั้งบริษัท ได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือทางออนไลน์

ขอจดทะเบียนบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติ ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?

  • แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ต.2 
  • ชื่อบริษัทตามที่จองไว้
    • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ และสำเนาบัตรประชาชนของเจ้าบ้าน
  • หนังสือแจ้งรายละเอียดของประเภทธุรกิจที่ขอรับใบอนุญาต
  • หนังสือแจ้งจำนวนทุน จำนวนหุ้น และมูลค่าของหุ้นของบริษัทที่กำหนดไว้ สัดส่วนการถือหุ้นระหว่างคนไทยกับคนต่างด้าว ประเภทหรือชนิดของหุ้นที่คนต่างด้าวถือ
  • สำเนาบัตรประชาชนคนไทย หรือสำเนาหนังสือเดินทางต่างด้าว รายละเอียดที่อยู่และจำนวนหุ้น ซึ่งต่างคนต่างเข้าชื่อซื้อไว้ของผู้เริ่มก่อตั้งบริษัท (อย่างน้อย 3 คน) และลายเซ็นของผู้เริ่มก่อตั้งทุกคน
  • เอกสารแสดงเงินทุนครบตามจำนวนทุนจดทะเบียนภายใน 12 วัน (เฉพาะธุรกิจกิจใหม่ที่จดทะเบียนเกินกว่า 5 ล้านบาท)
  • หลักฐานแสดงที่มาของเงินทุนที่สอดคล้องกับจำนวนเงินที่ชำระแล้วของผู้ถือหุ้นคนไทยทุกคน (เฉพาะธุรกิจใหม่ที่มีผู้ถือหุ้นต่างชาติที่ลงทุนในบริษัทจำกัด หรือต่างชาติที่เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัท)
  • ใบรับรองบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ถือหุ้นคนไทย ยอดไม่ต่ำกว่าจำนวนเงินที่ได้ลงทุน (เฉพาะธุรกิจใหม่ที่คนไทยและต่างชาติลงทุนร่วมกัน)

ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติ

  1. จัดทำบริคณห์สนธิ
  2. จัดให้มีผู้ถือหุ้นครบทุกคน
  3. ประชุมจัดตั้งบริษัท
  4. แต่งตั้งกรรมการ มอบหมายภารกิจให้กรรมการ
  5. คณะกรรมการเรียกชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น

หมายเหตุ : นำเอกสารประกอบไปจดทะเบียนภายใน 3 เดือนหลังจากการประชุมตั้งบริษัท

ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติทางออนไลน์

นำเอกสารประกอบ ไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือน หลังจากการประชุมตั้งบริษัท ซึ่งนอกจากจะ walk in ไปขอจดบริษัทที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ยังสามารถขอจดบริษัทแบบออนไลน์ได้ ถือว่าเป็นช่องทางที่สะดวกและรวดเร็ว ได้ลดค่าธรรมเนียม 50% อีกด้วย

การจดทะเบียนบริษัทแบบออนไลน์ในปัจจุบันทำได้ง่ายและสะดวกมาก ซึ่งเราสามารถลงทะเบียนและทำผ่านระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตามนี้

  1. ลงทะเบียนและยืนยันตัวตน จากนั้นจะได้รับ User Name และ password ที่จะส่งมาให้ผ่านทางอีเมล เพื่อใช้สำหรับเข้าไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
  2. กรอกข้อมูลบริษัทที่จะจดจัดตั้งในระบบ e-registration
  3. นายทะเบียนตรวจสอบข้อมูลและเอกสาร
  4. นายทะเบียนตรวจสอบผ่านแล้วจะได้รับอีเมลแนบข้อมูลการจดทะเบียนบริษัท และรหัสผ่านให้กรรมการและผู้ถือหุ้นทุกคนลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ยื่นคำขอจดทะเบียนบริษัท
  5. ชำระค่าธรรมเนียมจดทะเบียน

📝 การขอจดทะเบียนบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติ (รับขอ FBL) จะแตกต่างจากการจดบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยทั้งหมด การขออนุญาตประกอบธุรกิจสำหรับบริษัทต่างด้าว ที่ต้องพิจารณาในหลายๆ จุด รวมถึงการเตรียมเอกสารสำหรับการขอจดทะเบียนบริษัท จะมีการดำเนินการค่อนข้างละเอียด

เพื่อความสะดวกและรวดเร็วควรใช้บริการสำนักงานบัญชีได้เช่นกัน เพื่อช่วยในเรื่องของความถูกต้องในการจัดทำ การเตรียมเอกสาร และการให้ข้อมูลต่างๆ ได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น


สนใจบริการรับขอ FBL

ติดต่อ: บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด
43 ถ. สาทรใต้ แขวง ยานนาวา เขต สาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทร : 02 210 0281, 02 210 0282
มือถือ : 094 864 9799084 360 4656
LINE ID : @greenproksp
E-mail : info.th@greenproksp.com

Add Friend

Rate this post