มือถือ: 094 864 9799



ความหมายบริษัทจำกัด

บริษัทจำกัด คือ บุคคล 3 บุคคลขึ้นไปที่มารวมตัวกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไรจากการดำเนินกิจการ และทำการจัดตั้งบริษัทจำกัดขึ้นมา

ความหมายของบริษัทจำกัด

บริษัทจำกัด คือ บุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปร่วมกันทำกิจการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรจากการดำเนินกิจการนั้นมาแบ่งกัน โดยบริษัทจำกัดจะแบ่งทุนออกเป็นหุ้น มูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน ผู้ลงทุนในบริษัทเรียกว่า ผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นรับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนถือหุ้น เมื่อจดทะเบียนบริษัทจำกัดแล้ว จะมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแยกกับผู้ถือหุ้น และได้รับเลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก ซึ่งจะถูกใช้เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกรมสรรพากร

สำหรับชื่อบริษัท ถ้าจะนำชื่อไปใช้ในดวงตรา ป้ายชื่อ หนังสือ จดหมาย หรือเอกสารอย่างอื่นเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทต้องใช้คำว่า “บริษัท” ไว้หน้าชื่อและ “จำกัด” ไว้ท้ายชื่อด้วย ถ้าเป็นภาษาอังกฤษต้องมีคำลงท้ายชื่อด้วย Company Limited หรือ Co., Ltd. เป็นต้น

ข้อควรพิจารณาในการจัดตั้งบริษัทจำกัด

1. ความน่าเชื่อถือ ถึงแม้ว่าการดำเนินธุรกิจในรูปของบริษัทจำกัดนั้นในการปฎิบัติตามขั้นตอนต่างๆของกฎหมายจะมีค่าใช้จ่าย แต่สถานะของบริษัท จะมีความน่าเชื่อถือ แก่คู่ค้า และนักลงทุนซึ่งสมารถตรวจสอบได้ ไม่ว่าจะเป็นงบการเงิน ผู้ถือหุ้น และกรรมการบริษัท
2. จำกัดความรับผิด โดยผู้ถือหุ้นรับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนลงทุนในบริษัท
3. บริษัท มีความมั่นคง ในการที่คู่ค้าหรือบุคคลภายนอกจะพิจารณามาเข้าร่วมทำธุรกรรมด้วย บริษัทไม่มีกำหนดอายุจนกว่าเจ้าของผู้ถือหุ้นจะแจ้งเลิกกิจการ
4. ทุนของบริษัทแบ่งเป็นหุ้น มีความง่ายในการ จำหน่าย จ่าย โอน คือมีสภาพคล่อง ดังนั้นจึงง่ายในการในการระดมทุน มากกว่าหุ้นส่วน ในห้างหุ้นส่วน

สำหรับคนที่ต้องการจัดตั้งบริษัท ทางเรามีบริการ “รับจดทะเบียนบริษัท

ผลหลังการจัดตั้งบริษัทจำกัด

บริษัทจะมีความเป็นบุคคลในทางกฏหมายแยกจากผู้ถือหุ้นแต่ละราย สัญญาหรือข้อผูกพันใดๆ ที่บริษัทได้ทำขึ้นกับบุคคลภายนอกจะผูกพันเฉพาะตัวบริษัทเท่านั้น ไม่ต้องรับผิดด้วยคนเองหรือก่อให้เกิดสิทธิหรือหน้าที่ใดๆแก่ผู้ถือหุ้นที่จะเรียกร้องต่อบุคคลที่สาม และข้อความที่ระบุอยู่ในเอกสารจัดตั้งบริษัทที่จดทะเบียนแก่นายทะเบียนนั้นถือว่าประชาชนได้รับรู้แล้ว

สิทธิของผู้ถือหุ้น

แม้หน้าที่ในการบริหารงานและอำนาจในการตัดสินใจ จะเป็นของคณะกรรมการบริษัท แต่ผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นผ่านที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ได้แก่ การแต่งตั้งผู้สอบบัญชี การแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการ การเพิ่มทุน-ลดทุน การตวบรวมบริษัท และการเลิกกิจการ การควบคุมการดำเนินงานบริษัท การให้มีการเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ ตรวจดูรายงานการประชุมกรรมการและรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น การมีสิทธิได้รับเงินปันผลโดยทั้งนี้การจ่ายเงินปันผลจะกระทำได้เมื่อบริษัทมีกำไรเท่านั้น

อำนาจในการบริหารจัดการบริษัท

ผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการบริษัทคือกรรมการ โดยผู้ถือหุ้นอาจแต่งตั้งตนเอง หรือบุคคลที่ไว้วางใจ และมีความสามารถ เป็นกรรมการบริษัทแทนก็ได้ โดยจำนวนกรรมการบริษัทจะมีกี่คนก็ได้แล้วแต่ข้อตกลง การลงมติในที่ประชุมกรรมการตามกฏหมายให้ใช้เสียงข้างมาก เว้นแต่ข้อบังคับบริษัทจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กรณีที่คะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานเป็นผู้ชี้ขาด โดยการประชุมกรรมการต้องเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง แต่การดำเนินงานบริหารจัดการบริษัท สามารถมอบหมายงานให้ผู้บริหารทำหน้าที่แทนได้

กรรมการต้องดำเนินงานในกรอบวัตถุประสงค์ของบริษัทที่จัดตั้ง ไม่สามารถนำเงินทุนของบริษัทหรือเข้าทำสัญญาในธุรกิจอื่น ที่ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของบริษัท หากกรรมการดำเนินการนอกวัตถุประสงค์ย่อมไม่ผูกพันบริษัทและกรรมการนั้นต้องรับผิดชอบเป็นการส่วนตัว

สนใจบริการรับจดทะเบียนบริษัทจำกัดปรึกษาเราได้ฟรี!


ติดต่อสอบถาม-ปรึกษา รับจดทะเบียนบริษัท, ภาษีมูลค่าเพิ่ม


ติดต่อสอบถาม-ปรึกษา รับจดทะเบียนบริษัท, ภาษีมูลค่าเพิ่ม


ติดต่อสอบถาม-ปรึกษา จดทะเบียนบริษัท, ภาษีมูลค่าเพิ่ม


ติดต่อสอบถาม-ปรึกษา จดทะเบียนบริษัท, ภาษีมูลค่าเพิ่ม


ติดต่อสอบถาม-ปรึกษา จดทะเบียนบริษัท, ภาษีมูลค่าเพิ่ม

4.4/5 - (5 votes)