มือถือ: 094 864 9799



รับจดทะเบียนบริษัทต่างชาติ

รับจดทะเบียนบริษัทต่างชาติถือหุ้นมากกว่า 49%

ปัจจุบันเราให้บริการรับจดทะเบียนบริษัทต่างชาติจำนวนมาก เนื่องจากมีชาวต่างชาติสนใจมาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งการเพิ่มขึ้นดังกล่าว อาจมาจากปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นในการลงทุนของชาวต่างชาติประกอบด้วย นโยบายสำคัญของรัฐบาลในการส่งเสริม การลงทุน อาทิ นโยบาย Thailand 4.0 ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ด้วยนวัตกรรม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีความเข้มแข็ง และแข่งขันได้รวมถึงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีในการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมีการลงทุนในบริการฐานความรู้ขั้นสูงใหม่ที่เอื้อต่อการขยายตัวของภาคการผลิตและบริการ และส่วนหนึ่งอาจมาจากปัจจัยที่นักลงทุนต่างชาติประสงค์จะเข้ามาประกอบธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC) เป็นต้น ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้มีส่วนช่วยในการตัดสินใจของนักลงทุนที่จะเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้น

ช่องทางที่ชาวต่างชาติสามารถยื่นขออนุญาตประกอบธุรกิจในไทย

1. ยื่นขอ Foreign Business Licenses (FBL) คือ การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ
2. ธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) สามารถยื่นขอหนังสือรับรองประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติได้
3. กฎหมายมาตรา 11 ข้อตกลงที่ไทยได้เป็นภาคี หรือ พันธกรณี หรือ นักธุรกิจต่างชาติที่อยู่ภายใต้สนธิสัญญา สามารถยื่นขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจชาวต่างชาติได้
4. เปิดสำนักงานผู้แทน หรือ สำนักงานสาขา

ตามพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ พุทธศักราช 2542 แบ่งประเภทธุรกิจออกเป็น 3 บัญชี มีดังนี้

บัญชี 1 ธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้ต่างชาติประกอบกิจการ

ไม่ต่างชาติทำธุรกิจ

1. ธุรกิจหนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียง หรือสถานีวิทยุโทรทัศน์
2. ทำนา ทำไร่ ทำสวน
3. ธุรกิจเลี้ยงสัตว์
4. ธุรกิจที่ทำเกี่ยวกับป่าไม้และแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติ
5. จับสัตว์ทำประมงในน่านน้ำไทยและในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทย
6. ธุรกิจสกัดสมุนไพรไทย
7. ธุรกิจการค้าและการขายทอดตลาดโบราณวัตถุของไทย หรือค้าขายสิ่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศ
8. ทำหรือหล่อพระพุทธรูป และการทำบาตร
9. ค้าขายที่ดิน

บัญชี 2 ธุรกิจที่มีผลกระทบกับประเทศไทย

ธุรกิจที่เกี่ยวกับความมั่นคงและวัฒนธรรม

คนต่างชาติที่ต้องการใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัทต่างชาติตามบัญชีสอง ต้องได้รับอนุญาตจากคณะรัฐมนตรี โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะนำเสนอเพื่ออนุมัติ ใช้เวลาพิจารณาภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่ยื่นเอกสาร และสามารถขยายระยะเวลาพิจารณาออกไปอีกตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 60 วัน

1. ผลิต จัดจำหน่าย และซ่อมบำรุง อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ส่วนประกอบของอาวุธปืน ส่วนประกอบอุปกรณ์สงคราม วัตถุที่ทำระเบิด อาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ และเรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะทางทหารทุกประเภท
2. ธุรกิจขนส่งทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศในประเทศ รวมถึงกิจการการบินในประเทศ
3. ธุรกิจค้าขายของเก่า หรือศิลปวัตถุที่เป็นงานศิลปกรรม หัตถกรรมของไทย
4. ธุรกิจผลิตเครื่องไม้แกะสลัก
5. ธุรกิจเลี้ยงไหม ผลิตเส้นไหมไทย ทอผ้าไหมไทย หรือพิมพ์ลวดลายผ้าไหมไทย
6. ผลิตเครื่องดนตรีไทย
7. ผลิตเครื่องทอง หรือเครื่องเงิน
8. ผลิตถ้วยชาม หรือเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นศิลปวัฒนธรรมไทย
9. ธุรกิจผลิตน้ำตาลจากอ้อย
10. ทำนาเกลือ รวมถึงการทำเกลือสินเธาว์ด้วย
11. ทำเกลือหิน
12. ทำเหมือง รวมถึงระเบิดหรือย่อยหิน
13. แปรรูปไม้เพื่อทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้สอย

บัญชี 3 ธุรกิจที่คนไทยไม่พร้อมที่จะแข่งขันกับชาวต่างชาติ

ธุรกิจที่ไม่พร้อมแข่งขัน

ชาวต่างชาติที่จะประกอบธุรกิจตามบัญชี 3 จะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) ซึ่งใช้เวลาในการพิจารณาภายในกำหนด 60 วันนับแต่วันที่ยื่นเอกสารขออนุญาตประกอบธุรกิจ และอธิบดีจะออกใบอนุญาตภายใน 15 วันนับแต่วันที่อนุญาตชาวต่างชาติมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้ประกอบธุรกิจบัญชี 3 ต่อรัฐมนตรีได้ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง และรัฐมนตรีจะวินิจฉัยเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ยื่นอุทธรณ์

1. ทำธรุกิจสีข้าว และผลิตแป้งจากข้าว และพืชไร่
2. ธุรกิจทำประมง (การเลี้ยงสัตว์น้ำ)
3. ธุรกิจทำป่าไม้จากป่าปลูก
4. ผลิตไม้อัด แผ่นไม้วีเนียร์ หรือฮาร์ดบอร์ด
5. ธุรกิจผลิตปูนขาว
6. บริการทางบัญชี
7. บริการทางกฎหมาย
8. บริการทางสถาปัตยกรรม
9. บริการทางวิศวกรรม
10. ธุรกิจก่อสร้าง ยกเว้น การก่อสร้างซึ่งเป็นการให้บริการพื้นฐานแก่ประชาชนด้านการสาธารณูปโภคหรือคมนาคมที่ต้องใช้ เครื่องมือ เครื่องจักร เทคโนโลยีหรือความชำนาญในการก่อสร้างเป็นพิเศษ โดยมีทุนขั้นต่ำของต่างชาติตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไป หรือ ธุรกิจก่อสร้างประเภทอื่นที่กำหนดไว้ในกฎของกระทรวง
11. กิจการนายหน้า ตัวแทน ยกเว้นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริการการซื้อขายหลักทรัพย์ล่วงหน้า ซึ่งสินค้า ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร หรือตราสารที่เกี่ยวข้องกับการเงินหรือหลักทรัพย์ การเป็นนายหน้า ตัวแทนซื้อขาย จัดหาสินค้า หรือบริการที่จำเป็นในการผลิต หรือการบริการของวิสาหกิจในเครือเดียวกัน การเป็นนายหน้า ตัวแทนซื้อขาย จัดซื้อ จัดจำหน่าย จัดหาตลาดในประเทศ หรือนำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ โดยต่างชาติต้องมีทุนขั้นต่ำตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป หรือ การเป็นตัวแทนนายหน้าประเภทอื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
12. การขายทอดตลาด ยกเว้น การประมูลซื้อขายระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ประมูลซื้อขายของเก่า วัตถุโบราณ หรือศิลปวัตถุที่เป็นงานศิลปกรรม หัตถกรรม หรือโบราณวัตถุของไทย หรือสิ่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย หรือ การขายทอดตลาดประเภทอื่นที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
13. การค้าภายในเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมืองที่ยังไม่มีกฎหมายห้ามไว้
14. การค้าปลีกทุกประเภทสินค้าที่มีทุนขั้นต่ำน้อยกว่า 100 ล้านบาท หรือทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่า 20 ล้านบาท
15. การค้าส่งสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท
16. กิจการโฆษณา
17. กิจการโรงแรม ยกเว้นบริการจัดการโรงแรม
18. ธุรกิจนำเที่ยว
19. ขายอาหารหรือเครื่องดื่ม
20. ทำธุรกิจเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธุ์พืช
21. ธุรกิจบริการอื่น ยกเว้นธุรกิจบริการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง

จากที่กล่าวมาการรับจดทะเบียนบริษัทต่างชาติ (บริษัทที่มีผู้ถือหุ้นเป็นชาวต่างชาติเกิน 49% ขึ้นไป) จะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่าการจดทะเบียนบริษัทที่คนต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 49% ซึ่งต้องมีการยื่นขออนุญาตกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยขั้นตอนดังกล่าวต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์และ ความชำนาญในการดำเนินการ  ติดต่อรับคำปรึกษาหากท่านต้องการจดทะเบียนบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นเป็นชาวต่างชาติเกิน 49%

>> หน้าที่หลังได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจต่างชาติ


สนใจบริการรับจดทะเบียนบริษัทต่างชาติ

ติดต่อ: บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด
43 ถ. สาทรใต้ แขวง ยานนาวา เขต สาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทร : 02 210 0281, 02 210 0282
มือถือ : 094 864 9799084 360 4656
LINE ID : @greenproksp
E-mail : info.th@greenproksp.com

Add Friend