มือถือ: 094 864 9799



รับจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ส่งเสริมการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อต้องการยกระดับมาตรฐานคุณภาพธุรกิจ และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อต้องการสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจออนไลน์ในประเทศไทย เพื่อให้ขยายโอกาสทางการตลาดไปสู่ระดับสากล จึงมีมาตราการให้ผู้ประกอบการให้เห็นความสำคัญกับการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และส่งเสริมผู้ประกอบการที่ขายสินค้าออนไลน์ในการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ปัจจุบันมีบริษัทรับจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และผู้ประกอบการที่ต้องการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก เนื่องด้วยผู้ประกอบการที่เข้าข่ายต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ต้องการทำให้ถูกต้องตามกฎหมายและไม่เสียค่าปรับตามมา

กรีนโปร เคเอสพี ให้บริการรับจดทะเบียนพาณิชย์ และจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อให้การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของท่านนั้นง่ายขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการ

เหตุผลที่ผู้ประกอบการขายสินค้าออนไลน์ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการขายสินค้าออนไลน์ นอกจากจะเป็นการทำให้ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถนำสัญลักษณ์ DBD Registered หรือ เครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ไปใส่บนเว็บไซต์ของผู้ประกอบการได้อีกด้วย เพื่อเพิ่มและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ของผู้ประกอบการว่ามีตัวตนอยู่จริง สามารถตรวจสอบได้ เมื่อผู้ประกอบการได้ดำเนินการแปะสัญลักษณ์ DBD Registered บนเว็บไซต์ของผู้ประกอบการแล้ว ต่อมาผู้ประกอบการก็สามารถอัพเกรดเป็นสัญลักษณ์ DBD Verified
เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อมากขึ้นได้

ข้อมูล เครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ธุรกิจที่เรารับจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นธุรกิจที่กรมพัฒนาธุรกิจการกำหนดว่า
ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีดังต่อไปนี้

  • ธุรกิจขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ (ร้านค้าออนไลน์)
  • บริษัทหรือบุคคลที่ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ต Internet Service Provider (ISP)
  • บริษัทหรือบุคคลที่ให้บริการด้าน Web Hosting
  • เว็บไซต์ที่เป็นคนกลางเพื่อให้ผู้ซื้อกับผู้ขายมาซื้อขายกันผ่านเว็บของตน เช่น LAZADA Shopee เป็นต้น

เมื่อผู้ประกอบการทราบถึงประเภทธุรกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และทราบเหตุผลว่าทำไมผู้ประกอบการต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรีนโปร เคเอสพี ขอสรุปประโยชน์ของการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นข้อๆ ให้ผู้ประกอบการทราบอย่างชัดเจน ดังต่อไปนี้

สนใจบริการ รับจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รับจดทะเบียนพาณิชย์ รับจดทะเบียนการค้า ปรึกษาเราได้ฟรี

ประโยชน์ของการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นนอกจากจะเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่เข้าข่ายตามที่กล่าวมาข้างต้นต้องดำเนินการจดทะเบียนแล้วการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยังมีประโยชน์แก่ผู้ประกอบการดังนี้
1. ทำให้กิจการมีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทำให้ผู้บริโภคหรือคนภายนอกมั่นใจได้ว่ากิจการมีอยู่จริง มีตัวตนและทราบสถานที่ตั้งของกิจการที่แน่นอน ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจในการสั่งซื้อสินค้าว่าผู้บริโภคจะได้รับสินค้าเป็นไปตามที่สั่งซื้อกับผู้ประกอบการ เนื่องจากในปัจจุบันมีมิจฉาชีพที่หลอกลวงขายสินค้าแล้วไม่จัดส่งสินค้าตามที่ผู้บริโภคสั่งซื้อ หรือในกรณีที่ซื้อสินค้าไปแล้วสินค้ามีปัญหาในภายหลัง (โดยเฉพาะการขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งผู้บริโภคจะได้รับสินค้าในภายหลัง) ถ้าสินค้าประเภทเดียวกันและเปรียบเทียบร้านค้าที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และไม่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทางผู้บริโภคจะมีความมั่นใจในการซื้อสินค้าและเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าที่มีการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากกว่าร้านที่ไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
2. ทำให้ร้านค้าของผู้ประกอบการเป็นที่รู้จักมากขึ้น เนื่องจากในกรณีเป็นร้านค้าออนไลน์ซึ่งผู้ประกอบการได้ดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะนำรายชื่อเว็บไซต์ของผู้ประกอบการไปไว้ในฐานข้อมูล ซึ่งแยกตามประเภทธุรกิจ ที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th/edirectory ซึ่งจะเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต ทำให้บุคคลทั่วไปค้นพบข้อมูลร้านค้าของผู้ประกอบการ จึงเป็นการช่วยเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้แก่ผู้ประกอบการอีกช่องทางหนึ่ง
3.  เป็นเอกสารประกอบการพิจารณาในการทำธุรกรรมกับสถาบันการเงิน ปัจจุบันการทำธุรกรรมทางการเงินกับสถาบันการเงิน ถ้าผู้ประกอบการทำธุรกิจในรูปบุคคลธรรมดา โดยไม่ได้เป็นพนักงานเงินเดือนประจำ เอกสารการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ทางสถาบันการเงินใช้ในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นการกู้เงินเพื่อมาใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจ การกู้เงินเพื่อนำมาขยายกิจการ หรือแม้แต่การกู้เงินเพื่อซื้อบ้านและรถยนต์
4. มีสิทธิใช้เครื่องหมายรับรองของ DBD ในกรณีผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นได้มีการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว ผู้ประกอบการมีสิทธิในการขอใช้เครื่องหมาย DBD Registered เพื่อนำไปติดตั้งบนหน้าเว็บไซต์ของตนเอง เพื่อแสดงความมีตัวตนตามกฎหมาย ส่งผลในการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น และยังสามารถยื่นขอเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ DBD Verified ซึ่งจะมีความน่าเชื่อถือสูงกว่า เครื่องหมาย DBD Registered (ซึ่งเว็บไซต์ต้องมีคุณภาพและเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า)
5. ได้รับสิทธิ์ในการเข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตรพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด

บทกำหนดโทษ พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ 2499

ผู้ที่ประกอบกิจการที่เข้าข่ายต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ต้องดำเนินการจดทะเบียนภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่เริ่มประกอบกิจการการประกอบกิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ โดยไม่จดทะเบียน มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท กรณีไม่จดทะเบียนอันเป็นความผิดต่อเนื่องปรับอีกวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

แนวปฏิบัติการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

1. การยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ 1 คำขอต่อ 1 เว็บไซต์ หรือร้านค้าออนไลน์
2. ต้องมีร้านค้าออนไลน์แล้ว โดยไม่ใช่มีแต่ชื่อเว็บไซต์ หรือชื่อร้านค้า
3. เป็นร้านค้าหรือประกอบพาณิชยกิจอิเล็กทรอนิกส์ 4 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนดดังที่กล่าวมาด้านบน
4. ไม่ใช่เว็บไซต์หรือสื่อออนไลน์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือให้ข้อมูลเท่านั้นโดยไม่สามารถซื้อขายผ่านทางเว็บไซต์หรือสื่อออนไลน์นั้นๆ
5. การซื้อขายสินค้า/บริการผ่านทางเว็บไซต์หรือ Social Media เช่น Facebook ที่เป็นการทำการค้าโดยปกติ ถือเป็นการซื้อขายผ่านทางอินเทอร์เน็ตต้องจดทะเบียนพาณิชย์ และนำเลขทะเบียนแสดงบนหน้าร้านค้าออนไลน์
6. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์ DBD Registered เฉพาะร้านค้าออนไลน์ที่เป็นเว็บไซต์และมีโดเมนเนมเป็นของตนเอง ไม่รวมสื่อออนไลน์อื่น

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เข้าข่ายต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  1. มีระบบการสั่งซื้อ เช่น ระบบกรอกฟอร์ม ระบบตะกร้า E-mail หรืออื่นๆ
  2. มีระบบการชำระเงิน ออฟไลน์ หรือ ออนไลน์ เช่นการโอนเงินผ่านระบบบัญชี การชำระด้วยบัตรเครดิต หรือ e-cash เป็นต้น
  3. มีระบบสมัครสมาชิก เพื่อรับบริการข้อมูลหรืออื่นๆ โดยมีการคิดค่าใช้จ่าย (ถือเป็นการขายบริการ)
  4. มีวัตถุประสงค์หลักในการรับจ้างโฆษณาสินค้าหรือบริการของผู้อื่น และมีรายได้จากาการโฆษณานั้น
  5. รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ หรือเพียงโฆษณาว่าเป็นผู้รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ (ถือว่าการออกแบบเว็บไซต์นั้นมีช่องทางการค้าปกติบนอินเทอร์เน็ต)
  6. เว็บไซต์ให้บริการเกมส์ออนไลน์ที่คิดค่าบริการจากผู้เล่น (เจ้าของเว็บไซต์ต้องจดทะเบียน)
  7. เว็บไซต์ที่มีการส่งมอบสินค้าหรือบริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่นการ Download เพลงโปรแกรม เกมส์ Ringtone Screensaver SMS เป็นต้น

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เข้าข่ายไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  1. มีเฉพาะหน้าร้านโชว์สินค้าของตนเอง แต่ทำการค้าในช่องทางปกติ (ไม่ใช่อินเทอร์เน็ต) แม้จะมีข้อความแจ้งว่าให้ติดต่อได้ เช่นสนใจโทร.ติดต่อ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
  2. การโฆษณาสินค้าของตนเอง โดยลักษณะของการโฆษณานั้นไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของกิจการและไม่ใช่ช่องทางค้าปกติ แม้จะมี banner ของผู้อื่นมาติดและมีรายได้จาก banner ก็ตาม
  3. การประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลแก่สมาชิกหรือบุคคลทั่วไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือบริการ เช่น เพื่อการสอน ประกาศรับสมัครงาน
  4. การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท หรือสินค้า
  5. เว็บไซต์ส่วนตัว (ส่วนบุคคล) ที่สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว การงาน การศึกษา หรือความสนใจส่วนตัว
  6. เว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางด้านข้อมูล โดยมีจุดประสงค์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยไม่เสียค่าสมาชิกหรือค่าใช้จ่ายใดๆ

ขั้นตอนการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  1. จัดทำเฟซบุ๊ก หรือเว็บไซต์ หรืออินสตราแกรม ให้พร้อมออนไลน์
  2. จัดทำแบบฟอร์มสำหรับยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  3. แนบเอกสารประกอบที่ใช้ในการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  4. ยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์พร้อมทั้งเอกสารประกอบ
  5. ยื่นเอกสารเพื่อขอใช้เครื่องหมาย DBD Registered

สถานที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  • กรณีสำนักงานแห่งใหญ่ของสถานประกอบการตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นที่สำนักงานเขตที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่
  • กรณีสำนักงานแห่งใหญ่ของสถานประกอบการตั้งอยู่ในต่างจังหวัดให้ยื่นที่ เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบลที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  1. กรณีบุคคลธรรมดา
  • กรอกแบบคำขอ ทพ.
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ประกอบกิจการ
  • เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ สถานที่ตั้งกิจการ ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้านสถานที่ตั้ง สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประชาชนเจ้าของสถานที่ตั้ง
    สัญญาซื้อขาย โฉนดที่ดิน
  • หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ในกรณีให้ใช้สถานที่โดยไม่คิดค่าเช่า หรือสัญญาเช่าในกรณีเป็นการเช่า (ในกรณีเช่านั้น สัญญาเช่าต้องติดอากรแสตมป์
    ตามที่กฎหมายกำหนด)
  • แผนที่แสดงสถานที่ของสถานประกอบการ และสถานที่ใก้ลเคียงโดยสังเขป
  • รูปภาพและรายละเอียดเฟซบุ๊ก หรือเว็บไซต์ หรืออินสตราแกรม
  • เอกสารการจดโดเมนเนม (ในกรณีเว็บไซต์)
  • หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 10 บาท (ในกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปดำเนินการแทน)
  1. กรณีนิติบุคคล
  • กรอกแบบคำขอ ทพ.
  • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
  • สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านกรรมการนิติบุคคล
  • เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ สถานที่ตั้งนิติบุคคล ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้านสถานที่ตั้ง สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชนเจ้าของสถานที่ตั้ง
    สัญญาซื้อขาย โฉนดที่ดิน
  • หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ในกรณีให้ใช้สถานที่โดยไม่คิดค่าเช่า หรือสัญญาเช่าในกรณีเป็นการเช่า (ในกรณีเช่านั้น สัญญาเช่าต้องติดอากรแสตมป์
    ตามที่กฎหมายกำหนด)
  • แผนที่แสดงสถานที่ของสถานที่ตั้งนิติบุคคล และสถานที่ใก้ลเคียงโดยสังเขป
  • รูปภาพและรายละเอียดเฟซบุ๊ก หรือเว็บไซต์ หรืออินสตราแกรม
  • เอกสารการจดโดเมนเนม (ในกรณีเว็บไซต์)
  • หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 10 บาท (ในกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปดำเนินการแทน)

ผู้ที่ต้องการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ทั้งในรูปบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล

ทำไมเราถึงรับจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ราคาถูก

บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด เป็นผู้ให้บริการรับจดทะเบียนธุรกิจทุกประเภท รวมถึงรับจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเราเข้าใจถึงการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ และเข้าใจคนทำธุรกิจว่ามีค่าใช้จ่ายที่ตามมามากมาย กรีนโปรเคเอสพีจึงคิดอัตราค่าบริการรับจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ราคาถูกเริ่มต้นเพียง 2,900 บาท 

นอกจากผู้ค้าออนไลน์ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตามที่กล่าวแล้ว ในกรณีบุคคลธรรมดาที่มียอดขายเกินกว่าปีละ 1.8 ล้านบาท หรือในกรณีเป็นนิติบุคคลถึงแม้ยอดขายไม่เกิน 1.8 ล้านก็ต้องทำการจดทะเบียนตลาดแบบตรงกับทาง สคบ. เพิ่มเติม โดยต้องยื่นขอจดทะเบียนเป็น ผู้ค้าตลาดแบบตรง ตาม พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2560 หากผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงไม่ไปจดทะเบียนประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง จะมีโทษจำคุก 1 ปี และปรับ 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับบาท

อ่านรายละเอียดการจดทะเบียนธุรกิจตลาดแบบตรง

เว็บไซต์ที่ต้องจดและไม่ต้องจดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


สนใจบริการ รับจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รับจดทะเบียนพาณิชย์ รับจดทะเบียนการค้า ปรึกษาเราได้ฟรี

ติดต่อ: บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด
43 ถ. สาทรใต้ แขวง ยานนาวา เขต สาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทร : 02 210 0281, 02 210 0282
มือถือ : 094 864 9799084 360 4656
LINE ID : @greenproksp
E-mail : info.th@greenproksp.com

Add Friend