มือถือ: 094 864 9799



จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม

จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT คำนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คงเคยได้ยิน แต่บางท่านอาจยังไม่ทราบหรือเข้าใจถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อย่างลึกซึ้ง และเกี่ยวพันกับผู้ประกอบการอย่างไร ผู้ประกอบการจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หรือไม่ และเมื่อใดที่จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเมื่อจดภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วมีหน้าที่ต้องทำอย่างไร ทางที่ปรึกษาจึงขอสรุปรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจมากยิ่งขึ้นดังนี้
ทั้งนี้ก่อนอื่นที่เราจะพูดถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT ในรายละเอียด เรามารู้ถึงความหมายของภาษีมูลค่าเพิ่มกันก่อน

ปรึกษา จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม จดทะเบียนบริษัท
ฟรี!

ติดต่อสอบถาม-ปรึกษา รับจดทะเบียนบริษัท, ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ติดต่อสอบถาม-ปรึกษา รับจดทะเบียนบริษัท, ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ติดต่อสอบถาม-ปรึกษา จดทะเบียนบริษัท, ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ติดต่อสอบถาม-ปรึกษา จดทะเบียนบริษัท, ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ติดต่อสอบถาม-ปรึกษา จดทะเบียนบริษัท, ภาษีมูลค่าเพิ่ม











ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

     1.  ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
     2.  ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือบริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย                                      (คลิกเพื่อดูรายการประเภทธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม)
     3.  ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
     4.  ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ฉบับที่ 43) ฯ ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ . 2536 (คลิกเพื่อดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 43))

ทั้งนี้มีกิจการบางประเภทได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แต่ผู้ประกอบการก็ยังสามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ดังต่อไปนี้

     1.  ผู้ประกอบกิจการ ขายพืชผลทางการเกษตร สัตว์ ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่น อาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
     2.  ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี (คลิกเพื่ออ่านข้อพิจารณาของผู้ประกอบการที่ต้องการจดภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนรายรับถึง 1.8 ล้านบาท)      
      3.  การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร โดยอากาศยาน
     4.  การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย                                   
     5.  การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร

 

กำหนดให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการประกอบกิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (ตามมาตรา 80/1)

     1. การส่งออกสินค้าที่มิใช่การส่งออกสินค้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
     2. การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักร และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด โดยทั้งนี้ให้รวมถึง การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักร เพื่อใช้ผลิตสินค้าในเขตปลอดอุตสาหกรรมส่งออก เพื่อส่งออก และการให้บริการที่กระทำในเขตอุตสาหกรรมส่งออก เพื่อใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกด้วย
    3. การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยาน หรือเรือเดินทะเลที่กระทำโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล
    4. การขายสินค้าหรือการให้บริการกับกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ทั้งนี้เฉพาะกรณีที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
    5. การขายสินค้าหรือการให้บริการให้แก่
         5.1 องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล
         5.2 องค์การระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีพันธกรณีตามความตกลงที่จะต้องปฏิบัติเท่าเทียมกับสถานเอกอัครราชทูตองค์การสหประชาชาติหรือทบวงการชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ
         5.3 สำนักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
     6. การขายสินค้าหรือการให้บริการระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับคลังสินค้าทัณฑ์บนหรือระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบกิจการที่อยู่ในเขตปลอดอากรไม่ว่าจะอยู่ในเขตเดียวกันหรือไม่ หรือระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับผู้ประกอบการที่ ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากร ทั้งนี้ เฉพาะการขายสินค้าหรือการให้บริการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

โทษของการไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

     ในกรณีที่ผู้ประกอบการอยู่ในข้อบังคับที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คือมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการที่ไม่ได้สิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเกินกว่า 1.8 ล้านต่อปี กฎหมายบังคับให้ต้องดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี โดยถ้าไม่ดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จะมีโทษดังต่อไปนี้
     1.  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ
     2.  ผู้ประกอบการต้องเป็นผู้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ทางสรรพากรเอง จากยอดขายสินค้าและบริการที่เกิน 1.8 ล้าน แล้วยังไม่ได้มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยผู้ประกอบการไม่สามารถเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าและบริการในส่วนที่เกิน 1.8 ล้านบาท แล้วยังไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้  โดยหลังจากจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แล้วผู้ประกอบการจึงจะสามารถเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากผู้ซื้อสินค้าและบริการได้     3.  เสียเบื้ยปรับเป็นจำนวน 2 เท่าของภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)  ที่ต้องชำระในเดือนภาษีตลอดระยะเวลาที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มหรือเป็นเงิน 1,000 บาทต่อเดือนภาษีแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
     4.  เสียเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของภาษีทีต้องชำระ
     5.  ไม่มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเก็บไปจากการซื้อสินค้าและผู้บริการของผู้ประกอบการอื่นที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มาหักเป็นภาษีขายได้ 

การ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

เอกสารเบื้องต้นที่ใช้ประกอบในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

1.  แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 01) และ ภ.พ. 01.1 (ในกรณีที่ต้องการใช้สิทธิ)
2.  สำเนาทะเบียนบ้านสถานที่ตั้งสถานประกอบการ
3.  เอกสารแสดงสิทธิของเจ้าของสถานที่ตั้งสถานประกอบการ (สำเนาทะเบียนบ้านแสดงชื่อเจ้าบ้าน โดยสรรพากรบางพื้นที่ อาจขอโฉนดที่ดิน และ/หรือ สัญญาซื้อขาย และ/หรือคำขอเลขที่บ้าน และ/หรือใบโอนกรรมสิทธิ์ เพิ่มเติมด้วย)
4.  สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของบ้าน
5.  สัญญาเช่าในกรณีที่เช่าสถานที่เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ ซึ่งถ้าเป็นการเช่าช่วงต้องมีสัญญาเช่าทอดแรก และสัญญาเช่าช่วงด้วย หรือ หนังสือยินยอมใช้สถานที่ในกรณีเจ้าของสถานที่ให้ใช้สถานที่เป็นที่ตั้งสถานประกอบการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
6.  แผนที่แสดงที่ตั้งสถานประกอบการ โดยสังเขป
7.  รูปถ่ายของสถานประกอบการ  โดยต้องถ่ายให้เห็นทั้งด้านในและด้านนอกสถานประกอบการ รูปด้านในสถานประกอบการเห็นสถานที่ ทำงาน และรูปด้านนอก เห็นอาคารทั้งหลังของสถานประกอบการและเลขที่บ้าน
8.  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านผู้ประกอบการ (ในกรณีบุคคลธรรมดา) กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม หรือ หุ้นส่วนผู้จัดการ (ในกรณีนิติบุคคลแล้วแต่กรณี)  ส่วนในกรณีเป็นคนต่างด้าวใช้สำเนาหนังสือเดินทางและสำเนาหน้าวีซ่าล่าสุด
9.  สำเนา หนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือใบทะเบียนพาณิชย์ (แล้วแต่กรณี)
10. หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ สำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ 
(ในกรณีมอบอำนาจให้กระทำการแทน)

วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถดำเนินการได้ 2 วิธี

1.  ดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยวิธีออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ของสรรพากร
2.  ดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยยื่นคำขอเป็นเอกสาร ณ สรรพากรพื้นที่ ของที่ตั้งสถานประกอบการ และหากว่าสถานประกอบการมีหลายสาขา ผู้ประกอบการต้องยื่นจด ณ ที่ตั้งของสำนักงานใหญ่เท่านั้น

เมื่อผู้ประกอบการได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้ว ทางกรมสรรพากรจะออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20) ให้ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ ที่ระบุในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นเป็นต้นไป ในกรณียื่นจดสาขาก็จะได้รับใบ ภ.พ. 30 เท่ากับจำนวนสาขาที่ยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยทั้งนี้ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องนำใบทะเบียน ภ.พ. 20 ดังกล่าวไปแสดงไว้ ณ สถานประกอบการ ในสถานที่ที่เห็นได้ง่ายและเปิดเผย โดยถ้ามีกรณีที่ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 20 มีการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้ประกอบการทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ซึ่งใบแทนดังกล่าวนั้นจะถือว่าเป็นใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

หน้าที่ของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

หน้าที่ของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
      1. ผู้ประกอบการมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และออกใบกำกับภาษี เพื่อเป็นหลักฐานในการ เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (คลิกเพื่ออ่านข้อมูลใบกำกับภาษี) 
      2. ผู้ประกอบการมีหน้าที่จัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่
         2.1 รายงานภาษีซื้อ
         2.2 รายงานภาษีขาย
         2.3 รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
     3. ผู้ประกอบการมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีตามแบบ ภ.พ.30 เพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม

การที่กิจการมีการออกใบกำกับภาษี นั่นคือกิจการมีความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงมีคำถามว่า กิจการจะต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อใด นั่นคือจุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามประเภทกิจการ (คลิกเพื่ออ่านข้อมูลจุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม)

วิธีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ  = ภาษีขาย  – ภาษีซื้อ

กรณีภาษีขาย  >  ภาษีซื้อ  = ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ

กรณีภาษีขาย  < ภาษีซื้อ  =  ภาษีที่มีสิทธิขอคืน หรือขอเครดิตภาษีคืน

  • ภาษีขาย (Output Tax ) หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อมีการขายสินค้าหรือรับค่าบริการ
  • ภาษีซื้อ (Input Tax) หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ จ่ายให้กับผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่เป็นผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตน ภาษีซื้อที่จะนำมาหักได้นี้ครอบคลุมถึงภาษีซื้อของสินค้าประเภททุนด้วย

     ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ต้องชำระ คำนวณจากการนำภาษีขายในเดือนนั้น หักด้วยภาษีซื้อในเดือนนั้นเช่นกัน ซึ่งหากว่าภาษีขายนั้นมากกว่าภาษีซื้อ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องชำระภาษีส่วนต่างนั้น ในทางตรงกันข้ามหากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายก็สามารถขอคืนภาษีส่วนต่างนั้นได้ โดยทั้งนี้สามารถขอคืนภาษีส่วนต่างเป็นเงินสด หรือยกยอดไปเป็น เครดิตภาษีของเดือนถัดไปได้ และหากในเดือนภาษี ที่นำเครดิตภาษียังมีคงเหลืออยู่ ก็สามารถนำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนถัดไปได้อีก จนกว่าเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่เหลืออยู่นั้นจะหมดไป และในกรณีที่มิได้นำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดไปจะยกเครดิตภาษีนั้นนำข้ามไปชำระภาษีในเดือนอื่นๆ ไม่ได้ แต่ให้ขอคืนเป็นเงินสดโดยต้องยื่นคำร้อง แบบ ค.10

     ส่วนในกรณีที่มีเหตุอันจำเป็นที่ไม่ได้นำภาษีซื้อไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษี  สามารถนำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีหลังจากนั้น โดยนับจากเดือนถัดไปที่ระบุในใบกำกับภาษีได้ภายใน 6 เดือน

     เช่นใบกำกับภาษีเป็นเดือนมกราคม 2562 ถ้าไม่ได้ใช้ในเดือนมกราคม ก็มีสิทธินำไปใช้เครดิตภาษีได้ภายใน 6 เดือน โดยเริ่มนับจากเดือนกุมภาพันธ์ 2562  ไปจนถึง เดือนกรกฏาคม 2562  นั่นก็คือใบกำกับภาษีซื้อของเดือนมกราคม 2562 นี้ สามารถนำไปใช้ได้ภายใน วันที่ 15 สิงหาคม 2562 คือวันที่ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนสิงหาคม 2562 เป็นวันสุดท้าย

     และในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ไม่ได้ใช้สิทธินำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่นั้นไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนถัดไป ผู้ประกอบการ  จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)  ก็ยังคงมีสิทธิขอคืนเครดิตภาษีดังกล่าว ภายในระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีสำหรับเดือนภาษีนั้น 

ติดต่อสอบถาม-ปรึกษา จดทะเบียนบริษัท, ภาษีมูลค่าเพิ่ม


ปรึกษา จดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม จดทะเบียนบริษัท
ฟรี!

การยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) และกำหนดเวลายื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • การยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30)  

     ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องยื่นแบบ ภ.พ. 30  พร้อมชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี) เป็นรายเดือนทุกเดือนภาษี ไม่ว่าจะมีการขายสินค้าหรือให้บริการนี้เดือนภาษีนั้นหรือไม่ก็ตาม โดยต้องยื่นแบบ ภ.พ. 30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป และถ้าหากว่าวันที่ 15 ของเดือนนั้นๆ ตรงกับวันหยุด ก็สามารถยื่นแบบ ภ.พ. 30 ได้ในวันทำการถัดไป และขยายเวลาเพิ่มให้อีก 8 วันถ้าหากว่าเป็นการยื่นแบบ ภ.พ. 30 ทางอินเทอร์เน็ต

     กรณีที่ผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่ง ต้องทำการแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษี และชำระภาษีเป็นรายสถานประกอบการ ยกเว้นแต่ได้ยื่นคำร้องขออนุมัติยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีรวมกัน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สำนักงานใหญ่ของสถานประกอบการตั้งอยู่ ซึ่งต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว ให้ยื่นแบบรวมกัน ตั้งแต่เดือนภาษีที่อธิบดีกำหนดไว้
เป็นต้นไป

  • การยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้า

     ในกรณีที่มีการนำเข้าสินค้า ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือผู้นำเข้าต้องยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมชำระอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ณ ด่านศุลกากรที่มีการนำเข้าสินค้า

  • การยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 36

     กรณีเป็นผู้จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ต้องมีหน้าที่ยื่นแบบพร้อมชำระภาษีภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน ตามกรณีดังนี้
– ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ที่เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และไม่ได้ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว
– ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร

ช่องทางการชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม
   – ชำระเป็นเงินสด
   – ชำระด้วยเช็คขีดคร่อมสั่งจ่ายสรรพากร โดยขีดฆ่าคำว่า ผู้ถือและหรือตามคำสั่ง
   – ชำระด้วยบัตรเครดิต
   – ชำระด้วยบัตร Tax Smart Card
   – ชำระทาง e-payment หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารพานิชย์ที่เข้าร่วม หรือบริษัทไปรษณีย์ไทย

กรีนโปร เคเอสพี ได้อธิบายเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งน่าจะทำให้ผู้ประกอบการหรือผู้สนใจเข้าใจเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าท่านผู้ประกอบการยังมีข้อสงสัยและต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรุณาติดต่อ กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง ผู้ให้บริการรับจดทะเบียนบริษัทจำกัด และภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)  อย่างครบวงจร โดยทีมงานที่มีประสบการณ์ และมีความชำนาญ เรายินดีให้คำปรึกษาและรับจดทะเบียนบริษัทจำกัด และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เราสามารถช่วยให้การจดทะเบียนบริษัทจำกัด และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)  ของท่านเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และรวดเร็ว ด้วยราคาที่ย่อมเยา

จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม
5/5 - (1 vote)